Page 31 - ทางรถไฟทหาร
P. 31

4-6

               5.  ลาดตามยาวของเส้นทาง (Grade Line)

                      การพิจารณาลาดตามยาวของแนวทางรถไฟนี้ โดยปกติคิดเทียบความแตกต่างของระดับความสูงใน

               ความยาวของทาง 100 ม. แต่ทางองค์การรถไฟของเราใช้ระยะความยาว 1,000 ม. แต่อย่างไรก็ดีก็คงเทียบได้

               เช่นเดียวกัน สำหรับทางรถไฟทหารก็มีเกณฑ์ที่ควรจะพิจารณาดังนี้.-

                      5.1  ทางในพื้นราบที่ถือว่าเป็นทางระดับ (Level grade)

                              ควรจะมีอาการลาดตามยาวตั้งแต่ 0.01% ถึง 0.40% ถือว่าเป็นลาดออน (Light grade) และ
                                                                                      ่
               ตั้งแต่ 0.04% ถึง 1.00% เรียกว่าเป็นลาดปานกลาง (Moderate grade) และตั้งแต่ 1.00% ถึง 2.00%

               เรียกว่าเป็นลาดชัน (Heavy grade) และหากว่าเกินตั้งแต่ 2.00% ขึ้นไปเรียกว่าลาดชันมาก (Very heavy
               grade) ซึ่งไม่ควรจะพิจารณาใช้โดยเฉพาะทางรถไฟทหารได้แนะนำไม่ควรจะใช้ลาดตามยาวนี้เกินกว่า 1.50%

               ทางรถไฟสายเหนือของประเทศไทย ซึ่งเป็นทางรถไฟยามปกติและถาวร ได้ใช้บังคับลาดตามยาวนี้ไว้ไม่เกิน

               2.00%

                      5.2  ลาดตามยาวบังคับ (Ruling grade)

                              เป็นอาการลาดที่ใช้บังคับหรือจำกัดน้ำหนักของหัวรถจักร 1 คัน ที่จะสามารถนำขบวนไปยัง
               ตำบลปลายทางที่ต้องการได้ และลาดตามยาวบังคับนี้ไม่จำเป็นจะต้องเป็นอาการลาดสูงสุดเลย


               6.  การกรุยโค้งหรือวางโค้งในภูมิประเทศ

                      6.1  การวางโค้งโดยใช้กล้อง

                              สำหรับการวางโค้งโดยใช้กล้อง ทีโอโดไลท์ และชยามาตรฐาน 20 ม. ข้อแนะนำในวิธีนี้ (ดูรูป

               ที่ 4.2 ประกอบ) คือ การใช้ชยาครั้งแรกจากจุดต้นโค้งนั้น ควรเป็นชยาที่จะทำให้หลักทปักต่อไป เป็นเลขพอดี
                                                                                      ี่
               เข้าหลักสิบของเมตรเช่น จุดต้นโค้งเป็นหลัก กม.153 +190.855 ชยาแรกที่ใช้ก็ควรเป็นชยายาวเพียง 9.145

               ม. ซึ่งจะทำให้จุด A1 ที่กรุยครั้งแรกมีหลักเป็น กม.153 + 200.000 พอดี แล้วต่อไป     จึงใช้ชยายาว 20 ม.
               ต่อไป



                                                            รูปที่ 4.2 ภาพการวางโค้ง


                                           P.I.

                                                     a1          a2


                                            d1   d2

                                       P.C.                              P.T.
   26   27   28   29   30   31   32   33   34   35   36