Page 33 - ทางรถไฟทหาร
P. 33

4-8

               7.  การยกโค้งของรางนอก (Super Elevation of Outer Rail)

                      เนื่องจากในขณะที่ขบวนการรถไฟวิ่งเข้าทางโค้งนั้น ก่อนจะเริ่มเข้าโค้งขบวนรถได้แล่นมาในแนว

               ทางตรง ความเฉื่อย (Inertia) ของขบวนยังมีความพยายามจะให้ขบวนรถแล่นตรงอยู่เสมอเมื่อถูกบังคับให้แล่น

               เข้าทางโค้ง ความเฉื่อยนี้จะเป็นแรงอันสำคัญที่จะดันให้ขบวนรถออกนอกโค้งซึ่งเราทราบกันดีว่านั่นคือแรง
               เหวี่ยง (Centrifugal Force) ฉะนั้นเพื่อจะทำการป้องกันในเรื่องนี้จึงจำเป็นจะต้องทำการยกรางนอกให้สูงกว่า

               รางในเสมอ เช่นเดียวกับการยกโค้งบนทางหลวงเช่นเดียวกัน
                      สำหรับการยกโค้งรางนอกนี้จะเห็นได้ว่ามีความสัมพันธ์กันระหว่างองศาของโค้ง (Degree of Curve

               or CB.) กับความเร็วในการแล่นของขบวนรถไฟ สำหรับเรื่องนี้ทางการรถไฟแห่งประเทศไทย ได้ทำตาราง

               สำเร็จไว้แล้วซึ่งจะหาหลักฐานได้จากแหล่งนี้โดยตรง
                      อย่างไรก็ดีสำหรับงานในสนามเขตยุทธบริเวณแล้ว เรามักจะจำกัดความเร็วของขบวนรถไว้ว่าไม่ควร

               เกิน 30 - 35 ไมล์ต่อชั่วโมง และหากว่าไม่สามารถจะหาหลักฐานใด ๆ ได้ เราก็อาจจะใช้การคำนวณคิดหา
               ระยะยกโค้งรางนอกได้จากสูตรต่อไปนี้คือ

                                                          2
                      สูตร                  E      =  8WS  / 2
                      เมื่อ   E      =  ระยะยกโค้งรางนอกเป็นมิลลิเมตร (มม.)
                              W      =  ความกว้างของรางรถไฟเป็นเมตร (ของไทยกว้าง 1 ม.)

                              S      =  ความเร็วของรถไฟเป็น กม./ ชม.

                              R      =  รัศมีโค้งเป็นเมตร
               ตัวอย่างที่ 7.3 การหาระยะยกโค้ง

                      ทางรถไฟกว้าง 1 เมตร รัศมีโค้ง 300 เมตร ความเร็วของรถไฟ 40 กม./ ชม.จงหาระยะยกโค้งของราง

               นอก
                                                   2
               วิธีทำ  จากสูตร       E      =  8WS  / 2
                                                   =  8x1x(40)  / 300
                                                              2
                                                   =   12,800 / 300      =   42.66  ใช้  43 มม.

               หมายเหตุ  กฎการปักป้ายความเร็ว เมื่อคำนวณได้ให้ปัดเศษทิ้งเป็นจำนวนเต็มที่หารด้วย 5 ลงตัว

                      ข้อจำกัดเกี่ยวกับเรื่องโค้ง ของการรถไฟแห่งประเทศไทย คือในปัจจุบัน ร.ฟ.ท. ได้พยายามที่จะใช้โค้ง

               สามัญให้มากที่สุดอยู่ตลอดเวลา สำหรับแนวทางรถไฟสายใหม่ ๆ ที่จะทำการก่อสร้าง และไม่พยายามจะใช้โค้ง
               ให้แคบเกินไป  (Sharp  Curve)  โดยบัญญัติไว้ว่าจะไม่ใช้โค้งที่รัศมีน้อยกว่า  150  เมตร  เป็นอันขาด  และหาก

               จำเป็นต้องใช้โค้งที่รัศมี 150 เมตร จะจำกัดความเร็ว ต้องไม่เกิน 10 กม. ต่อชั่วโมง และโค้งใดๆ ที่องศาของ

               โค้งไม่เกิน  10  องศาแล้ว  (D  =  10)  นับว่าไม่ขัดกับการเดินรถเลย  และขบวนรถก็สามารถจะใช้ความเร็วใน
               ขณะที่แล่นในโค้งได้ถึง 15 ไมล์/ชั่วโมง ซึ่งเป็นความเร็วปานกลางตามปกติของขบวนรถโดยสาร
   28   29   30   31   32   33   34   35   36   37   38