Page 34 - ทางรถไฟทหาร
P. 34
4-9
8. โค้งทางดิ่งหรือโค้งตั้ง (Vertical Curve)
8.1 ลักษณะของโค้งทางดิ่ง
แนวทางรถไฟในทางราบ (Horizontal) เมื่อแนวทางได้เปลี่ยนทิศทางไปนั้น เราพยายามทำ
่
ให้แนวทางเปลี่ยนแปลงไปในลักษณะที่คอย ๆ เปลี่ยนได้โดยอาศัยใช้โค้งเข้าช่วยเหลือดังที่กล่าวมาในตอนต้น
แต่เมื่อเรามาพิจารณาแนวทางในรูปตัดตามยาว (Profile) ดูบ้างก็อาจจะประสบกรณีที่แนวทางรถไฟได้
เปลี่ยนแปลงอาการลาดตามยาวไปได้บ้าง เป็นต้นว่าจากแนวทางระดับเปลี่ยนแปลงเป็นแนวทางที่มีอาการลาด
ขึ้นหรือแนวทางระดับเปลี่ยนเป็นแนวทางที่มีอาการลาดลงในภูมิประเทศบางแห่ง ซึ่งเป็นภูมิประเทศลักษณะ
ของที่ราบสูงหรือเป็นภูมิประเทศเป็นภูเขา เราก็อาจจะพบแนวทางรถไฟที่จะต้องเปลี่ยนจากอาการลาดชึ้นไปสู่
แนวทางที่มีอาการลาดลงได้บ่อย เพื่อให้เห็นชัดจะเห็นได้ง่ายในทางรถไฟสายตะวันออกเฉียงเหนือ นับตั้งแต่
สถานีแก่งคอยไปแล้ว จะเห็นว่าแนวทางรถไฟจะมีลักษณะตามรูปตัดตามยาวดังกล่าวแล้วข้างต้น หรือหากจะดู
ตัวอย่างก็จะแลเห็นสภาพของแนวทางรถไฟสายใต้นี้ ตอนจะข้ามสะพานจุฬาลงกรณ์นี้เอง
่
เมื่อพิจารณาขาล่องจากกรุงเทพฯ จะเห็นได้ว่าแนวทางเริ่มจะคอยเปลี่ยนเป็นอาการลาดขึ้น
นับตั้งแต่ทางรถไฟกบทางถนนตัดกันแล้วจะเปลี่ยนเป็นอาการลาดลง เมื่อเข้าสู่สถานีราชบุรีเป็นต้น ถ้าเรา
ั
พิจารณาแนวทางของรูปตัดตามยาวแล้วก็จะเห็นได้ว่าการเปลี่ยนแปลงนี้ย่อมจะทำให้เกิดจุดสกัดของแนวทาง
ทั้งสองเสมอ และหากว่าไมพจารณาหาหนทางมาช่วยให้การเปลี่ยนแปลงนี้เป็นไปโดยค่อย ๆ เปลี่ยนแล้ว ก็จะ
่
ิ
ทำให้ขบวนรถเกิดการขาดออกจากกันได้ ฉะนั้นจึงจำเป็นต้องเอาโค้งทางดิ่งมาช่วยเหลือ เพื่อให้อาการ
เปลี่ยนแปลงนี้ค่อย ๆ เกิดขึ้นทีละน้อย ๆ
เมื่อพิจารณาแล้วจะเห็นได้ว่าโค้งทางดิ่งนี้จะมีทางโค้งนูน (Convex Vertical Curve) และ
โค้งแอ่น (Concave vertical Curve) การใช้โค้งทงสองนี้จะต้องใช้โค้งแว่นไฟ (Parabola) เสมอทั้งนี้ก็เพราะ
ั้
เป็นโค้งที่จะค่อย ๆ เปลี่ยนส่วนลาดทีละน้อย ๆ และสะดวกในการวางโค้งในทางปฏิบัติมากอันตรายจะมีมาก
ขึ้นหากว่าอาการนูน (Spur) หรืออาการแอ่น (Sag) มีมุมเล็กมาก
8.2 ความแตกต่างระหว่าง อาการลาดทางพีชคณิต
จะให้สัญลักษณ์ว่า “ A “ เมื่อแนวทางลาดขึ้นแล้วเปลี่ยนเป็นแนวทางลาดลงความแตกต่าง
ทางพีชคณิต คือ ผลบวกของอาการลาดเป็นเปอร์เซ็นต์ของแนวทางทั้งสอง เมื่ออาการลาดขึ้นได้เปลี่ยนเป็น
อาการลาดขึ้นที่น้อยกว่าแล้ว ความแตกต่างทางพีชคณิตคอผลต่างระหว่างอาการลาดเป็นเปอร์เซ็นต์ของ
ื
แนวทางทั้งสองและทำนองเดียวกันสำหรับอาการลาดลงจากอันหนึ่งเป็นอีกอันหนึ่ง
8.3 อัตราความเปลี่ยนแปลง (Rate of Change)
อัตราความเปลี่ยนแปลง คือ ความแตกต่างระหว่างอาการลาดใน ระยะความยาว 20 เมตร
ของชยา (อเมริกาใช้ชยา 100 ฟุต) ซึ่งให้เป็นอักษร “ r “ และมีข้อจำกัดไว้ว่าไม่ควรเกิน 0.4% แต่ทางมีทาง
ลาดชันมากก็ต้องเพิ่มอัตรานี้ขึ้นไปอีก ซึ่งอาจเป็นถึง 1% ก็ได้