Page 18 - TeachingSkill
P. 18
3 - 2
2.4 ทําให้เกิดทัศนะคติแก่นักเรียน (REVEALS STUDENT ATTITUDES)
การตอบสนองของนักเรียนย่อมเป็นสิ่งชี้บอกว่ามีความสนใจและทัศนะคติเกิดขึ้นในวิชาที่
สอนในครั้งนั้นหรืออาจตลอดไปถึงทั้งหมดของโครงการฝึกสอนนั้น ๆ ก็ได้ ทัศนะคติของนักเรียนย่อมมี
ความสําคัญต่อครูซึ่งแสดงว่า นักเรียนมีความเข้าใจ หรือขาดความเข้าใจหรือไม่ เพียงใด
2.5 เปิดโอกาสให้นักเรียนมีส่วนร่วมด้วย (PERMITS STUDENT CONTRIBUTION)
จากประสบการณ์ของนักเรียนเอง หรือได้จากการอ่านของนักเรียน ซึ่งนักเรียนย่อมจะได้
ความรู้และแนวทางปฏิบัติใหม่ ๆ เกิดขึ้นในบทเรียนนั้น ๆ ซึ่งจะเป็นการยั่วยุสิ่งเหล่านั้นให้นักเรียนอยากมี
ส่วนร่วมในชั้นด้วย การร่วมมือดังกล่าวนี้เป็นสิ่งที่เราปรารถนาอย่างยิ่ง เพราะนอกจากจะเป็นการเร่งเร้า
ให้นักเรียนเกิดความสนใจและอะไร ๆ อีกหลาย ๆ อย่างแล้ว ยังเป็นการเพิ่มเนื้อหาในบทเรียนที่สอนนั้น
ด้วย
2.6 ทําให้เน้นและเสริมหัวข้อสําคัญในการสอน (PROVIDES OPPORTUNITY AND
REINFORCEMENT OF MAIN POINTS)
การรักษาหัวข้อสําคัญในการสอนไว้อาจทําให้ง่ายขึ้น โดยการกล่าวยํ้าบ่อย ๆ ความจริง
แล้วการตั้งคําถามให้นักเรียนนั้นย่อมเป็นการถามที่เกี่ยวกับจุดสําคัญ ๆ ซึ่งจะทําให้เกิดการเน้น
แนวความคิดของนักเรียนนั่นเอง การตอบคําถามของนักเรียนและการประเมินค่าคําตอบของนักเรียนอย่าง
ถูกต้องนั้น เป็นการทําให้เสริมและปรับแนวความคิดของนักเรียนให้ไปในแนวทางที่ถูกต้องได้
2.7 ตรวจสอบผลการสอน (CHECKS THE EFFECTIVENESS OF THE INSTRUCTION)
วิธีที่ดีที่สุดวิธีหนึ่งที่ใช้สําหรับตรวจสอบความเข้าใจของนักเรียน ก็คือ การนําเข้าไปสู่
คําถามในระหว่างที่ทําการสอน การทําดังกล่าวนี้จะเป็นผลทําให้เกิดวิธีการสอนอย่างได้ผล รวมทั้งเทคนิค
และแนวทางในการสอนได้เป็นอย่างดี นักเรียนที่ตอบคําถามต่าง ๆ ของครูเหล่านี้จะเป็นผลให้การสอน
บางตอนที่ไม่ค่อยได้ผลปรากฏ เป็นผลดีขึ้นได้ด้วย
3. การเตรียมคําถาม (PLANNING FOR QUESTIONS)
การใช้คําถามต่อนักเรียนจะต้องได้รับการเตรียมการพอสมควร คําถามที่เตรียมขึ้นนั้นควรจะเขียน
ไว้ในแผนการสอนเสียเลย เพื่อเน้นหัวข้อสําคัญในการสอน เพื่อเร้าให้นักเรียนเกิดความสนใจและเพื่อให้
นักเรียนในชั้นได้ให้ความร่วมมือกับครูในขั้นตอนต่าง ๆ ของการสอน การเปลี่ยนแปลงหรือแก้ไขคําถาม
ควรจะใช้ต่อเมื่อนักเรียนพึงพอใจ การเชื้อเชิญต่อการถามของนักเรียนถือว่าเป็นการส่งเสริมความร่วมมือ
ของนักเรียน ภูมิหลังและประสบการณ์ต่าง ๆ ของนักเรียนในชั้นย่อมมีอิทธิพลต่อการใช้คําถามเป็นอย่าง
ยิ่ง อย่างไรก็ดี การขาดซึ่งความรู้และความไม่ชํานาญการของนักเรียนก็มิใช่ว่าจะเป็นอุปสรรคหรือสิ่ง
ขัดขวางมิให้มีการร่วมมือของนักเรียนแต่อย่างใด ครูผู้ชํานาญแล้วสามารถทําตนให้นักเรียนในชั้นให้ความ
ร่วมมือได้เสมอ ฉะนั้น ผู้เป็นครูทุกคนควรจะได้เข้าในหัวใจสําคัญ 3 ประการ ที่เป็นสิ่งสําคัญแห่งเทคนิค
การตั้งคําถาม ดังนี้คือ.-
3.1 การแต่งคําถามอย่างถูกต้อง
3.2 มีวิธีการถามคําถามอย่างดีที่สุด