Page 14 - TeachingSkill
P. 14

2 - 5


                                    ตอนเริ่มต้นระยะเวลาของการสอนแต่ละครั้ง  ครูควรจะได้ชี้แจงเป้าหมายว่านักเรียนจะได้รับผล
                    อะไรตอบแทน นักเรียนควรจะทําอะไรได้บ้าง ซึ่งเป็นผลที่ได้จากการสอนในครั้งคราวนั้นยิ่งกว่านั้นนักเรียน

                    ควรจะรู้ต่อไปอีกว่า  บทเรียนแต่ละบทเรียนมีความเหมาะสมกับโครงการฝึกสอนนั้นเพียงใด และผลจาก
                    หลักสูตรของการฝึกสอนนั้นได้สอนให้เขาทํางานได้อย่างไร

                            4.3 การสนองตอบ (RESPONSE)

                                       นักเรียนจะเรียนเฉพาะที่เขาทําได้หรือสนองตอบได้เท่านั้น การเรียนที่กล่าวนี้อาจต้องใช้
                    หลายรูปแบบ คือ การฟัง,การสังเกตการณ์,การอ่าน,การทบทวน,การจดบันทึก,การท่องจํา,การเขียน, การ

                    ปฏิบัติ หรือการแก้ปัญหา  กรรมวิธีการสอน อันได้แก่ การมอบความรู้ - การปฏิบัติ - การวัดผล จะรวมอยู่ที่
                    การใช้หลักสูตรของการสอนของครูทุก ๆ ระยะของการสอน  ควรจะได้มีการเตรียมการเพื่อให้นักเรียนได้มี

                    การสนองตอบออกมาในรูปแบบใดรูปแบบหนึ่งแทนที่จะให้ครูต้องคอยสังเกตการณ์และวัดผล"การฝึกให้ทํา
                    จริงจะถือว่าได้ผลสมบูรณ์ก็ต่อเมื่อนักเรียนทําได้ถูกต้องเท่านั้น .

                            4.4 การยํ้าความเข้าใจ (REINFORCEMENT)

                                       การเรียนรู้ที่มีประสิทธิภาพ ต้องให้นักเรียนได้รู้ว่าการสนองตอบของนักเรียนนั้นผิดหรือถูก
                    การใช้หลักการข้อนี้ซึ่งเป็นหัวใจของขั้นการวัดผล  คือ การใช้หลักจิตวิทยาของการเรียนรู้นั่นเอง สําหรับ

                    นักเรียนที่รู้ว่าการสนองตอบของเขาถูกหรือ      สําเร็จผลเป็นการส่งเสริมการสนองตอบ และมีแนวโน้มที่จะ
                    เกิด  "ฝังจิตฝังใจ" (FIT IT IN MIND) นักเรียนควรจะได้รับการบอกเล่าถึงเรื่องของการสนองตอบที่ไม่

                    ถูกต้อง และยอมให้โอกาสที่จะแก้ไขให้ถูกต้องกล่าวโดยหลักการแล้วนักเรียนควรจะต้องรู้ว่าตนถูกหรือผิด
                    ทันทีทันใด  หลังจากการสนองตอบทุกครั้ง  ความชักช้ายิ่งมีนานเท่าใดระหว่างการสนองตอบกับคําตอบที่

                    ถูกต้อง  การยํ้าความเข้าใจก็จะไม่ได้ผลมากขึ้นเท่านั้น การสอนจะต้องได้เตรียมการเพื่อที่จะให้เริ่มหรือจบ

                    พร้อม ๆ กันไปกับการมอบความรู้และขั้นการปฏิบัติ การแก้ไขให้ตรวจดูอย่างทันควันกับสิ่งผิดพลาดที่
                    เกิดขึ้นนั้นเป็นความจําเป็น เพื่อให้การสอนและการเรียนที่มีประสิทธิภาพ การสอบไล่ ณ ปลายชั่วโมง  หรือ

                    ตอนปลายชั่วโมง  หรือตอนท้ายของขั้นการฝึกจะไม่ค่อยเพียงพอที่จะให้หลักการยํ้าความเข้าใจได้รับ

                    ผลสําเร็จเพราะว่าความชักช้าที่เกิดขึ้นระหว่างผลของการสนองตอบกับความถูกต้องของคําถาม หรือ
                    ความรู้ที่แท้จริงนั่นเอง

                            4.5 มีความสมจริง (REALISM)
                                       ครูควรจะเชื่อแน่ว่ากิจกรรมต่าง ๆ ของการเรียนรู้ในการฝึกสอน  มีความเกี่ยวข้องอย่าง

                    ใกล้ชิดกับสภาพของการปฏิบัติจริง  บทเรียนแต่ละบท  หรือหัวข้อการสอนแต่ละหัวข้อควรจะต้องมุ่งที่จะ
                    ทดสอบปัญหาต่าง ๆ เหล่านี้

                                     4.5.1 นี่เป็นทางหนึ่งในเรื่องที่จะสอนให้นักเรียนนําไปใช้ในการปฏิบัติจริงได้
                    หรือไม่ ?

                                                     เรื่องที่จะมอบความรู้ให้กับนักเรียนจะต้องมีความสมจริงในเรื่องสําคัญ ๆ อย่างไร
                    ก็ดีในระหว่างขั้นของการกล่าวนําของวิชานั้น ความประสงค์ที่จะให้สมจริงนั้น ควรจะต้องไม่เปิดโอกาสให้

                    การเรียนรู้ต้องไขว้เขวไป ข้อเท็จจริงที่ทหารในสนามรบอาจต้องใช้แผนที่ในระหว่างที่มีพายุหิมะประกอบกับ
   9   10   11   12   13   14   15   16   17   18   19