Page 15 - TeachingSkill
P. 15
2 - 6
ตกอยู่ในอํานาจการยิงของข้าศึก มิได้หมายความว่าในการสอนเรื่องการอ่านแผนที่ควรจะต้องไปทําการ
สอนกันในสนามรบเช่นเดียวกับของจริง ที่มีอุปสรรคจริง ๆ ควรจะแนะนําได้ในตอนฝึกปฏิบัติภายหลังจากที่
ทหารได้รับการฝึกจนเกิดความชํานาญ ทั้งในหลักการและเทคนิคของมันแล้ว
4.5.2 การมอบความรู้ของครู มีความสมจริงเหมาะสมกับระดับความรู้ของนักเรียน
หรือไม่?
การสอนที่อยู่นอกเหนือความเข้าใจของนักเรียน ก็คือ ความไม่สมจริง อย่างไรก็ดี
วิชาที่ยากมาก ๆ สามารถทําการสอนให้นักเรียนในระดับความรู้ต่าง ๆ กันได้ถ้าได้ปรับให้รู้ความต้องการ
เฉพาะ การสอนจะสมจริงยิ่งขึ้นโดยการใช้คําอ้างว่า "นี่มีความหมายแก่ท่าน" หรือ "ท่านจะใช้สิ่งนี้ใน
ลักษณะเช่นนี้"
4.6 ภูมิหลัง (BACKGROUND)
การเรียนรู้ย่อมมีมูลฐานมาจากประสบการณ์ ประสบการณ์ใหม่ ก็จะท้าวความถึง
ประสบการณ์เก่าได้ คนที่เห็นเครื่องบินเป็นครั้งแรกในชีวิต อาจเรียกว่า "นกใหญ่" ก็เพราะว่าสิ่งที่เขาเห็น
ใหญ่นี้มันคล้ายกับที่เขาเคยเห็นมาก่อน
4.6.1 ครูสามารถอธิบายสิ่งใหม่ๆ ให้นักเรียนเข้าใจได้โดยการเขียนรูปจาก
ประสบการณ์ เก่าของนักเรียนให้มีความสัมพันธ์กับของใหม่ ความต้านทานในการไหลของกระแสไฟฟ้า
อาจอธิบายว่ามีความคล้ายคลึงกับการไหลของนํ้าในท่อซึ่งมีขนาดต่าง ๆ กัน การอธิบายเรื่องการผสม
นํ้ามันกับอากาศในเครื่องยนต์ว่าคือ การทําให้เชื้อเพลิงเป็นละอองช่วยให้ส่วนผสมนั้นมีการเผาไหม้ดี
คําอธิบายนี้ฟังดูก็ถูกต้องแต่จะมีนักเรียนเพียงส่วนน้อยที่จะสามารถจะเข้าใจคําอธิบายนี้ได้
4.6.2 ประสบการณ์ที่ผ่านมาของนักเรียนย่อมมีหลายอย่างต่าง ๆ กัน เพราะฉะนั้น
ประสบการณ์เหล่านั้นอาจไม่สามารถรวมอยู่ได้ในคําอธิบายอันหนึ่ง คงจะต้องเลือกและแสดงให้เห็นอย่าง
ระมัดระวังเพื่อให้นักเรียนได้รับความหมายในสิ่งเหล่านั้นไปตามที่ปรารถนาในระยะแรกเริ่มต้นของการฝึก
ครูควรต้องแสดงภาพจากประสบการณ์ทางพลเรือนทั่ว ๆ ไป เสียก่อนจนกว่าการฝึกจะได้ดําเนินการไปได้
บ้างแล้วก็ค่อย ๆ แสดงภาพให้เห็นมากขึ้น ๆ ตามลําดับ
4.6.3 ครูใช้หลักการนี้ ในการขึ้นต้นหรือกล่าวนําบทเรียนได้ โดยการทบทวนสิ่งที่
สอนไปแล้ว ลักษณะเช่นนี้เป็นการช่วยนักเรียนให้ระลึกได้ว่าตนได้เรียนอะไรไปแล้วบ้าง ซึ่งจะทําให้
เสริมสร้างภูมิหลังหรือประสบการณ์ที่ผ่านมาต่อบทเรียนที่จะทําการสอน
4.7 การเรียนรู้จากการเปรียบเทียบ (INCIDENTAL LEARNING)
4.7.1 การเรียนรู้จะเกิดผลสมบูรณ์ก็ต่อเมื่อ นักเรียนได้รับทัศนะคติ, ค่านิยม, การ
เห็นคุณค่า, ความสนใจ, อุดมคติและอุปนิสัย ซึ่งนักเรียนจะได้นําเอาสิ่งที่เรียนรู้ไปใช้ให้ถูกต้อง คํากล่าวนี้
เป็นคํากล่าวที่นับว่าสําคัญในการฝึกทางทหาร ซึ่งหลักการเบื้องต้นต่าง ๆ สําหรับเป็นแนวทางให้กับครู
ควรจะได้รับการพิจารณา ครูทหารต้องไม่คิดว่าตนเองจะมีความเกี่ยวข้องอยู่กับการสอนและเรื่องที่จะ
สอนในวิชานั้น ๆ เท่านั้น ครูเองจะต้องได้มีความตื่นตัวในการที่จะพัฒนาการให้ถูกต้องในเรื่องของการ
เห็นคุณค่าและทัศนคติ ซึ่งจะต้องคิดหาหนทางในการที่จะให้ทหารได้ใช้ความรู้และความสามารถที่เขา