Page 13 - TeachingSkill
P. 13
2 - 4
เพียงใด เรื่องที่จะสอนก็จะสอนได้มากขึ้น ความพร้อมที่จะเรียนก็มีมากขึ้นด้วยอย่างไรก็ตาม ครูจะต้อง
ระลึกไว้ในใจเสมอว่า ความรับผิดชอบของครู คือ สอนมิใช่ให้ความบันเทิง
4.1.4 สนับสนุนให้ได้รับความสําเร็จแต่เนิ่นๆ (ENCOURAGE EARLY SUCCESS)
การให้ได้รับความสําเร็จแต่เนิ่น ๆ เป็นการเร้าใจอย่างหนึ่งแก่นักเรียน ผลสําเร็จ
ของนักเรียนแต่ละคนทําให้เกิดความพยายามต่อไป และได้รับผลสําเร็จเพิ่มขึ้นอีกเรื่อย ๆ สําหรับบุคคล
ธรรมดาแล้ว ความสําเร็จผลได้เป็นผลก่อให้เกิดความยินดี และความพึงพอใจและรบเร้าให้กระทํากิจการ
ที่ใหญ่โตมากขึ้นตามลําดับ ในระหว่างตอนแรก ๆ ของโครงการฝึกสอนครูควรให้นักเรียนได้ทํางาน ซึ่งเขา
สามารถทําให้สําเร็จได้โดยสมบูรณ์
4.1.5 ให้การรับรองและเชื่อถือ (GIVE RECOGNITION AND CREDIT)
การให้การรับรองและเชื่อถือ ทําให้เกิดการกระตุ้นอย่างแรงสําหรับการเรียกความ
ปรารถนาของนักเรียน และมีสิทธิต่อความหวัง ความเชื่อถืออันเกิดจากผลงานที่ดี ครูจะต้องยกย่องถึง
จุดเด่นของงานของนักเรียนและไม่เพ่งเล็งถึงข้อบกพร่องของนักเรียนมากเกินไปให้เริ่มต้นการวิจารณ์ในผล
ที่น่าพึงพอใจเสียก่อน แล้วจึงยกเข้าไปสู่คําแนะนําที่จะให้สําหรับเพื่อการปรับปรุงแก้ไขต่อไปภายหลัง
4.1.6 การสนองตอบด้วยความรู้สึกและอารมณ์
(FEELING AND EMOTIONAL RESPONSES)
พึงหลีกเลี่ยงการสนองตอบทางความรู้สึก และอารมณ์ที่จะไปขัดขวางกับการ
เรียนรู้อย่างมีประสิทธิภาพ, ความรู้สึกมีผลกระทบกระเทือนต่อการเรียน นักเรียนผู้ซึ่งมีความโกรธแค้นขุ่น
เคือง ขวยเขิน ตกใจ หรืออารมณ์ที่เสียใด ๆ ก็ตาม นักเรียนจะคิดถึงแต่เรื่องต่าง ๆ เหล่านั้น แทนที่จะมา
สนใจกับการเรียนที่ครูกําลังสอนอยู่
4.1.7 มีการแข่งขันกัน (USE COMPETITION)
การแข่งขันกันในระหว่างเพื่อนนักเรียนด้วยกันย่อมเป็นการยั่วยุการเรียน การ
แข่งขันเช่นที่กล่าวระหว่าง 2 กลุ่ม, ระหว่างชุด 2 ชุด หรือมากกว่า โดยปกติแล้วจะทําให้การเรียนได้รับ
ผลสําเร็จ ถ้าหากว่าความเข้มข้นของการแข่งขันกันในครั้งนั้น ไม่ทําให้เป้าหมายของการเรียนเสียไป เมื่อ
เป็นไปได้แล้ว การแข่งขันเป็นกลุ่มเป็นสิ่งที่น่าจะเลือกใช้มากกว่าการแข่งขันระหว่างบุคคลต่อบุคคล การที่
ให้นักเรียนมีการแข่งขันต่อผลการเรียนที่แล้วมาของตนเองแล้ว จัดว่าเป็นการแข่งขันที่มีประสิทธิภาพ
4.1.8 มีการให้รางวัลและลงโทษ (USE REWARDS AND PUNISHMENT)
การให้รางวัลเป็นการกระตุ้นอย่างมีอิทธิพลยิ่ง ในทางตรงข้ามการลงโทษบางทีจะ
เป็นไปในทํานองการเร้าใจที่เราไม่ค่อยปรารถนาที่จะทํากันนัก บทกําหนดการลงโทษที่นักเรียนเห็นว่าเป็น
การไม่ยุติธรรมหรือรุนแรงเกินไปอาจก่อให้เกิดความขุ่นเคือง, ก่อศัตรู และเกิดความล้มเหลวต่อการเรียน
วิชาซึ่งมีการลงโทษร่วมอยู่ด้วย
4.2 ความมุ่งหมาย (OBJECTIVE)
การเรียนจะมีผลมากขึ้นเมื่อนักเรียนได้รู้อย่างแท้จริงว่า เขาจะต้องเรียน และเขามีความ
มุ่งหวังว่าจะไปทําอะไร