Page 100 - Way&Airfield
P. 100
5-9
8. ลักษณะเฮลิคอปเตอร์,ผังท่าเฮลิคอปเตอร์ (HELICOPTER CHARACTERISTICS,
HELIPORT CRITERIA AND LAYOUT)
8.1 ลักษณะของเฮลิคอปเตอร์
ลักษณะที่สําคัญของเฮลิคอปเตอร์ ทบ. ได้แสดงไว้ในตาราง 5 - 6 ลักษณะการออกแบบ
ท่าของเฮลิคอปเตอร์ขึ้นอยู่กับ ฮ. ที่กําหนด ซึ่งแบ่งประเภทเป็นการตรวจการณ์, ใช้งานทั่วไป, ลําเลียงและ
ติดอาวุธ
8.2 ชนิดของเฮลิคอปเตอร์
8.2.1 ฮ. ตรวจการณ์ (ขนาดเบา) (Observation (light) Helicopter (OH))
ใช้ตรวจดูด้วยสายตา, ถ่ายรูป, การใช้เครื่องมือทางอีเลคโทรนิกส์, ใช้ในการปรับ
การยิง, การวางสายไฟทางอากาศ, การบังคับบัญชาและควบคุมติดต่อ, การลาดตระเวน, การเพิ่มเติม
กําลังอย่างจํากัดและการสนับสนุนการยิงทางอากาศ
8.2.2 ฮ.ใช้งานทั่วไป (UH)
ใช้ในภารกิจต่าง ๆ เช่น บรรทุกสัมภาระ, คนโดยสาร, ขนย้ายคนเจ็บ, ขนส่งหน่วย
ทางยุทธวิธี, บังคับบัญชาและควบคุม และการแจกจ่ายวัสดุในระหว่างการปฏิบัติการทางจิตวิทยา
8.2.3 ฮ.ลําเลียง (Cargo (Medium transport and Heavy lift (CH))
ใช้ในการปฏิบัติการเคลื่อนย้ายทางอากาศและขนส่งหน่วยทหาร, เครื่องมือ สป.
ต่าง ๆ ในพื้นที่การรบ และอาจใช้ในภารกิจพิเศษ เช่น การเติมนํ้ามัน, การส่งกลับคนเจ็บ, นักโทษหรือ
เครื่องมือที่ชํารุด, บ.ลําเลียงสามารถขึ้นลงได้ในทางดิ่ง, สามารถขนย้ายยานพาหนะที่เคลื่อนที่บนผิวพื้น
และเครื่องมือหนักอื่น ๆ สําหรับระยะทางสั้น ๆ ข้ามผ่านเครื่องกีดขวางธรรมชาติหรือสร้างขึ้น
8.2.4 ฮ.ติดอาวุธ (Armed Helicopter (AH and UH))
ใช้ในการคุ้มกัน ฮ. ที่บรรทุกหน่วยทหาร, มีฐานอาวุธสําหรับอาวุธต่าง ๆ เพื่อ
สนับสนุนการยิงตามที่ ผบ.หน่วยภาคพื้นดินต้องการ
8.3 คําจํากัดความ
8.3.1 เขตร่อนขึ้นลง (Approach - departure zone)
คือพื้นที่ถัดไปจากปลายเขตถากถางหัวท้ายทางวิ่งแต่ละข้าง หรือถัดไปจากพื้นที่
ขึ้นลงของ ฮ.(Landing pad area) ที่ต่อยื่นออกไปจากพื้นดินตามแนวศูนย์กลางทางวิ่งหรือตามแกนร่อนลง
8.3.2 ผิวสําหรับการร่อนขึ้นลง (Approach - Departure surface)
คือแนวพื้นระดับที่สมมุติขึ้นเหนือเขตร่อนลงเริ่มต้น ณ ระดับทางวิ่งหรือพื้นที่ขึ้นลง
และยกระดับเหนือเขตร่อนขึ้นลง โดยมีอัตราลาด 10 : 1 สําหรับระยะทางราบ 1,500 ฟุต
8.3.3 พื้นที่ขึ้นลงของ ฮ. (Helicopter landing pad) (Helipad)
คือที่เตรียมไว้บนพื้นดินซึ่งออกแบบไว้เพื่อ การขึ้นลงของ ฮ. ที่เหมาะสมเท่านั้น