Page 104 - Way&Airfield
P. 104
5-13
8.5.4 การวางผัง
ผังที่เป็นแบบฉบับของสิ่งอํานวยความสะดวกต่าง ๆ พร้อมด้วยมิติที่ต้องการและ
ช่องว่างด้านข้าง (Clearances) ของ ฮ. ที่กําหนด
8.6 การออกแบบ (DESIGN CRITERIA)
ส่วนประกอบมูลฐานของท่า ฮ. ทราบได้จากตาราง 5 - 9 โดยยึดถือมูลฐานตามความ
ต้องการ สําหรับบ. เฉพาะในตาราง 5 - 6 ส่วนและขนาดพื้นที่สําหรับแต่ละชนิดของที่ขึ้นลงแต่ละท่า ฮ.
ได้แสดงไว้ในตาราง 5 - 7 ถึงตาราง 5 - 9
8.6.1 พื้นที่สําหรับการขึ้นลงของ ฮ.
สามารถแบ่งได้ 4 ชนิดคือ
8.6.1.1 พื้นที่ขึ้นลง (Helipads)
ลักษณะการวางผังได้แสดงไว้ในรูป 5 - 5 ตัวเลขที่มีวงกลมล้อมรอบในรูป
5 - 5 จะตรงกับรายการในตาราง 5 - 7 การใช้ตัวเลขในตารางจะให้ความสะดวกในการพิจารณาความ
ต้องการขนาด สําหรับแต่ละ ฮ. ที่กําหนดออกแบบและพื้นที่การลงแต่ละชนิด ได้แก่ พื้นที่ข้างหน้า, พื้นที่
สนับสนุนและพื้นที่ข้างหลัง
8.6.1.2 ท่าเฮลิคอปเตอร์
พร้อมด้วยช่องทางขับลอยตัวในอากาศ (Heliport with taxihoverlane)
มีลักษณะคือมีที่จอด 2 ข้างของช่องทางขับลอยตัว, ฮ. ซึ่งปกติติดตั้งบนฐานล้อเลื่อน (Skid mounted)
เข้าสู่ท่าและออกจากท่าโดยช่องทางขับลอยตัว
8.6.1.3 ท่า ฮ. พร้อมด้วยทางวิ่ง (Heliport with runways)
ปกติติดตั้งในพื้นที่สนับสนุนหรือพื้นที่ข้างหลัง,สําหรับ ฮ.ลําเลียงที่หนักกว่า
8.6.1.4 ท่า ฮ. กองพันผสม (Mixed battalion heliports)
ขนาดไม่ได้มาตรฐานขึ้นอยู่กับจํานวนและขนาดของ ฮ. อาจมีท่า ฮ. ตั้ง
รวมกันอยู่ได้แต่จะต้องออกแบบแยกกัน ปกติตั้งอยู่ในพื้นที่ สนับสนุนและพื้นที่ข้างหลังเท่านั้น
8.6.2 ความยาวของทางวิ่ง
ความยาวของทางวิ่งสําหรับ ฮ. ทั้งหมดที่พิจารณา ณ ระดับนํ้าทะเลและ 15°C
(59°F) ได้แสดงไว้ในตางราง 5 - 8
ทางวิ่งไม่ได้แสดงไว้ในแผนผังสําหรับ ฮ. ที่มีฐานแบบล้อเลื่อน (Skid - mounted)
หรือ แบบล้อ (Wheel - mounted) ในพื้นที่ข้างหน้า เนื่องจากช่องทางขับลอยตัวในอากาศได้ใช้ เพื่อการนี้
อยู่แล้ว
ความยาวของทางวิ่งจะต้องเพิ่ม 10% สําหรับทุก ๆ 305 เมตร ที่มีระยะทางสูง
(Altitude) เกิน 305 เมตร