Page 27 - TeachingSkill
P. 27

4 - 6


                    ผลที่เราต้องการ  ฉะนั้นจงตัดสินใจว่าจะใช้เครื่องช่วยฝึกชนิดใดจึงจะช่วยนักเรียนในการเรียนได้ดีที่สุด
                    เครื่องช่วยฝึกควรมีลักษณะที่เด่นและชัดเจนแตกต่างไปจากสิ่งของที่ใช้สําหรับฝึกและอํานวยความสะดวก

                    ในการฝึก ตามวัตถุประสงค์ของเอกสารนี้รายการที่ยกมาต่อไปนี้จัดว่าเป็นเครื่องช่วยฝึกสําหรับการฝึก
                    ทั้งสิ้นคือ .-

                            5.1 ยุทธภัณฑ์ของจริง (ACTUAL EQUIPMENT)

                                       ยุทธภัณฑ์ที่เป็นของจริงนับได้ว่าเป็นเครื่องมือที่ใช้ในการฝึกจริงเป็นส่วนมาก  อย่างไรก็ดี
                    ครูผู้สอนต้องพิจารณาถึงขนาดของตัวนักเรียนเมื่อใช้ยุทธภัณฑ์จริงนั้น ๆ ในระหว่างการสอนเรื่องการถอด

                    และประกอบอาวุธ  ควรจัดนักเรียนให้มองเห็นได้ชัดเจนทุกคน ของจริงจึงไม่เป็นเครื่องช่วยฝึกที่ดีที่สุดเสมอ
                    ไป  ตัวอย่างเช่น การแสดงให้นักเรียนเห็นถึงวิธีปรับคาบูเรเตอร์, การตั้งจังหวะเครื่องยนต์หรือการถอดหัว

                    เทียน การใช้ของจริงจึงทําให้นักเรียนเกิดความยากลําบากที่จะเห็นได้ทั่วถึง  ฉะนั้นระหว่างการสอนเช่นนี้
                    เครื่องช่วยฝึกจริงจึงควรใช้ประกอบกับเครื่องช่วยฝึกชนิดอื่น ๆ จะดีกว่าหรืออาจใช้กระจกแผ่นใหญ่สะท้อน

                    ภาพไปให้นักเรียนได้เห็นว่าครูผู้สอนกําลังทําอะไรอยู่ก็ได้

                            5.2 เครื่องช่วยฝึกจําลอง (MODELS)
                                       เครื่องช่วยฝึกจําลองเรามักใช้ร่วมกับของจริง หรือใช้แทนของจริงกันอยู่บ่อย ๆ เครื่องช่วย

                    ฝึกจําลองแสดงมิติทั้งสามของของจริง  โดยธรรมดาการสร้างจะต้องมีมาตราส่วน ตัวอย่างที่ใช้ของจําลองที่
                    ได้ผลก็คือ การใช้รถถังจําลองภูมิประเทศจําลอง หรือโต๊ะทราย เป็นต้น

                            5.3 หุ่นจําลอง (MOCKUPS)
                                        หุ่นจําลอง  เป็นเครื่องช่วยฝึกที่ทําขึ้นเหมือนของจริง อาจไม่ต้องให้รายละเอียดเหมือนของ

                    จริงทุกประการก็ได้  บางส่วนอาจเว้นไม่แสดงรายละเอียดอะไรมาก เพื่อให้นักเรียนมุ่งจุดสนใจไป ณ จุดที่

                    เราต้องการแสดงเท่านั้น
                            5.4 ภาพเขียน  (GRAPHIC MATERIALS)
                                       5.4.1 ภาพเขียน  หมายถึง แผ่นชาร์ท, ไดอาแกรม, กราฟ, ภาพสเก็ต, รูปการ์ตูน,แผนที่

                    และภาพฝาผนัง    การใช้ภาพเขียนนี้ควรใช้ประกอบกับเครื่องมือต่าง ๆ    ที่กําลังอธิบายหรือสอนกันอยู่

                                 5.4.2 สีที่ใช้เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพของเครื่องช่วยฝึ ก  ประเภทภาพเขียนนี้  เมื่อใช้สี
                    แล้ว  ครูผู้สอนควรอธิบายความมุ่งหมายด้วย ตัวอย่างเช่นนี้ สีแดงที่ใช้นี้ เพื่อแสดงให้เห็นระบบไฟฟ้าของ

                    เครื่องยนต์, สีเขียวแสดงระบบนํ้ามันเชื้อเพลิง และสีเหลืองแสดงให้เห็นระบบไฮดรอลิคส์ การใช้สีควร

                    พิจารณาใช้ด้วยความมุ่งหมายเพื่อการเน้นเท่านั้น
                            5.5 การจัดวางแสดง  (DISPLAYS)
                                      5.5.1 การจัดวางแสดงใช้สถานที่หลาย ๆ  แห่ง เช่น กําแพง, พื้น, เพดาน, ช่องทางเดิน

                    ในอาคาร, โรงทหาร. ห้องบังคับการ, ห้องพักผ่อน,   สนามฝึกกลางแจ้ง และที่จอดรถ สถานที่ต่าง ๆ เหล่านี้

                    ครูผู้สอนอาจใช้เครื่องช่วยฝึกเป็นส่วนหนึ่งของเรื่องที่ฝึกเพื่อ ให้เป็นเครื่องช่วยเหลือหรือเพิ่มการสร้าง
                    บรรยากาศ และสิ่งแวดล้อมในการเรียนนั้น ๆ
   22   23   24   25   26   27   28   29   30   31   32