Page 31 - TeachingSkill
P. 31

4 - 10


                    เตรียมบทเรียนหลักฐานเกี่ยวกับภาพยนตร์ประกอบด้วย ระยะเวลาสําหรับการฉายเรื่องย่อสั้น ๆ ข้อแนะนํา
                    ต่าง ๆ และวิธีการทดสอบความเข้าใจหลังจากฉายภาพยนตร์จบ

                                       5.9.2 ตรวจสอบภาพยนตร์ครั้งสุดท้ายรวมทั้งเครื่องฉายก่อนเข้าสอน ควรฉายดูสัก
                    นิดหน่อยเพื่อให้มั่นใจว่าได้นําเอาภาพยนตร์ม้วนที่ถูกต้องมาใช้ และเพื่อเป็นการทดสอบการทํางานของ

                    เครื่องฉายด้วยในตัว

                                        5.9.3 ลําดับต่อไปให้เตรียมการเกี่ยวกับนักเรียนและชั้นที่ชมภาพยนตร์ แจ้งให้
                    นักเรียนทราบว่าภาพยนตร์ที่จะฉายนั้นเป็นภาพยนตร์ว่าด้วยเรื่องอะไรและทําไมจึงนํามาฉายให้นักเรียนชม

                                        5.9.4 หยุดฉาย  เพื่ออธิบายตอนที่ยาก หรือตอนที่จะต้องเน้นความสําคัญ

                                       5.9.5 วางแผนอย่างรอบคอบในวิธีปฏิบัติขั้นต่อ ๆ  ไป  รวมทั้งการถกแถลงด้วยปาก
                    เปล่าเพื่อเน้นจุดสําคัญ หรือการทดสอบความเข้าใจด้วยปากเปล่า หรือการเขียนตอบ ในบางกรณีครูผู้สอน

                    จะใช้การสาธิตเพื่อเน้นวิธีการ  และเทคนิคในภาพยนตร์ที่ได้ฉายไปแล้วเมื่อสามารถทําได้  การฉาย
                    ภาพยนตร์แสดง การปฏิบัติควรจะฉายหลังจากการฝึกปฏิบัติไปแล้ว  และแล้วถ้าหากมีเวลาพอขอแนะนํา

                    ว่า          ควรจะได้ฉายภาพยนตร์แสดงการปฏิบัติเป็นครั้งที่สองเฉพาะส่วนหรือตอนที่ได้วิจารณ์เท่านั้นจาก

                    ประสบการณ์ที่แล้วมาการเรียนรู้และการเก็บกักเอาไว้จะได้รับผลเพิ่มขึ้น   เมื่อได้ดูภาพยนตร์ครั้งที่สอง
                    และให้มีส่วนหรือตอนในทางปฏิบัติ     นักเรียนจะได้รับข่าวสารไปมากเมื่อเราฉายให้ดูเป็นครั้งที่สอง

                                       5.9.6 ภาพนิ่ง (FILM STRIPS)    ภาพนิ่งประกอบด้วยฟิ ล์มภาพยนตร์มีความยาว
                    จํานวนหนึ่ง เป็นภาพนิ่งแต่ละภาพแสดงถึงเรื่องใดเรื่องหนึ่งโดยเฉพาะ   การฉายภาพนิ่งแต่ละภาพ

                    ครูผู้สอนต้องมีบทบาทมาก   วิธีที่ดีที่สุดควรจะมีครูผู้ช่วยทําการฉายให้  จะทําให้ครูผู้สอนได้เป็นอิสระใน

                    การอธิบาย และใช้ไม้ชี้เพื่อรวมความสนใจไปยังภาพที่ปรากฎบนจอแต่ละภาพ ๆ ไป จังหวะของภาพนิ่ง
                    อาจให้หยุดตรงใดก็ได้เพื่อทําการอธิบาย และให้ความกระจ่างชัด ณ จุดที่ยังไม่เข้าใจ

                            5.10 เครื่องฉายแผ่นใส (THE OVERHEAD PROJECTOR)
                                        5.10.1 เครื่องฉายแผ่นใส ซึ่งฉายแผ่นใสให้ปรากฎบนจอ หรือพื้นกําแพงฝาเรียนใช้กัน

                    อย่างกว้างขวางในกองทัพบก   สามารถใช้ในที่สว่างก็ได้  และห้องที่เปิดหน้าต่าง ๆ     ซึ่งเปิดโอกาสให้
                    นักเรียนมีแสงพอในการจดบันทึก   ครูผู้สอนสามารถหันหน้าเข้าหานักเรียนในระหว่างที่กําลังฉายอยู่ที่

                    เครื่อง ซึ่งเป็นการจับตาดูอยู่ที่นักเรียนได้ตลอดเวลา  เทคนิคมีความจําเป็นก็อาจใช้ในการเตรียมเรื่องที่จะ

                    สอนร่วมกับการใช้เครื่องฉาย ครูอาจชี้จุดที่อยู่บนจอได้  โดยชี้ไปที่แผ่นใสวางอยู่ที่เครื่องฉายนั้นเอง โดยมิ
                    ต้องไปชี้ที่จอหรือกระดานดํา

                                  5.10.2 แผ่นใสก็สามารถทําขึ้นโดยวิธีง่าย ๆ    และเมื่อฉายแล้วจะปรากฎภาพชัดเจนบนจอ

                    นักเรียนจะมองเห็นได้โดยง่าย อาจใช้สีประกอบด้วยดินสออาซิเตทและหมึกอินเดียนและราคาก็ไม่สู้แพงนัก
                                        5.10.3 ด้วยการใช้แผ่นใสอาซิเตท  ประกอบด้วยล้อม้วนซึ่งติดตั้งอยู่ ณ เครื่องฉาย

                    พร้อมด้วยดินสออาซิเตท ครูผู้สอนสามารถสร้างปัญหาหรือสถานการณ์หรือข้อสมมุติขึ้นใช้สอนด้วยตนเอง
                    ได้สะดวก
   26   27   28   29   30   31   32   33   34   35   36