Page 36 - TeachingSkill
P. 36
5 - 3
เป็นการแสดงคุณค่าของการเรียนในวิชานั้น ถ้าสามารถทําได้ควรเน้นความสําคัญอันเกี่ยวข้องในการรบ
ที่มีความเกี่ยวข้องกับบทเรียนนั้นด้วย
3.3 อธิบายวิธีการที่จะทําอย่างย่อ ๆ (BRIEF EXPLANATION OF THE PROCEDURE
TO BE FOLLOWED)
เมื่อนักเรียนได้ทราบว่า เขาจะทําอะไรแล้ว เขาจะมีความตั้งใจขึ้น ตัวอย่างเช่น "ใน 2
ชั่วโมงข้างหน้านี้ ครูจะอธิบายขั้นตอนต่าง ๆ ของการถอดประกอบอาวุธโดยมีครูผู้ช่วยทําให้ดู ขอให้
นักเรียนตั้งใจดูให้ดี และให้นักเรียนทําตามครูผู้ช่วยเป็นขั้นตอนตามไปด้วย เมื่อจบแล้วนักเรียนก็จะต้องไป
ทําการถอดประกอบอาวุธที่โต๊ะของนักเรียนเองโดยจะมีครูผู้ช่วยคอยดูอยู่จกระทั่งได้เวลาและคล่อง
พอสมควรแล้ว โดยทําการถอดและประกอบสัก 2 - 3 ครั้ง เสร็จแล้วในตอนท้าย 30 นาที เราจะทดสอบ
ท่านและเรากับท่านก็จะได้ทราบว่า ท่านได้รับความรู้ไปจากเรามากเพียงใด"
3.4 การทบทวนบทเรียนที่แล้วมา (REVIEW OF PREVIOUS INSTRUCTION)
บทเรียนทุกบทจะต้องมีความต่อเนื่องกันตลอดไป ฉะนั้น แต่ละบทจะให้ต่อเนื่องกันก็
จะต้องมีการเชื่อมโยง หรือ ทบทวนบทเรียนที่แล้วเสมอนี้เป็นวิธีการอย่างหนึ่ง เพื่อเป็นการรําลึกถึงสิ่งที่ได้
เรียนไปแล้วให้พร้อมเสียก่อนที่จะเริ่มเรียนในบทต่อไป เพื่อให้ทุกคนได้รับความรู้ไปพร้อม ๆ กันทั้งชั้น
4. การอธิบาย (THE EXPLANATION)
ในขั้นตอนของการอธิบายก็คือ ตัวเนื้อเรื่องของการสอนปากเปล่านั่นเอง ครูก็จะมอบความรู้ในเรื่อง
สําคัญ ๆ ด้วยการอธิบายเรื่องราวให้เข้าใจแจ่มแจ้งและจะต้องเร่งเร้าให้เกิดการเห็นคุณค่าไปด้วย
4.1 การจัดระเบียบการอธิบาย (ORGANIZATION OF THE EXPLANATION)
การอธิบายจะต้องมีการจัดระเบียบให้ดี เพื่อที่นักเรียนจะได้ติดตามคําอธิบายของครู
เป็นไปตามลําดับขั้นตอน การจัดระเบียบชนิดที่ครูเองสามารถเข้าใจได้ดี หรือเห็นว่าเป็นการเหมาะสมดี
แล้วอาจไม่เหมาะ ในการนําเอาไปสอนนักเรียนที่เริ่มเรียนก็ได้ เราลองมาพิจารณากันถึงการจํากัดหัวข้อ
สําคัญกันบ้าง มีหลักง่าย ๆ ที่จะเป็นแนวทางในการจํากัดหัวข้อสําคัญในการอธิบาย ว่าถ้าใช้หัวข้อสําคัญ
ในการอธิบายสัก 2 - 3 หัวข้อ แล้วนักเรียนจะจําได้โดยง่าย, และถ้าจัด 4 หรือ 5 หัวข้อ นักเรียนก็จะจดจํา
ได้ยากขึ้น ส่วนถ้าจัดให้มีถึง 8 - 10 หัวข้อแล้วจะทําให้นักเรียนเกิดการสับสน ในระหว่างการอธิบายต้อง
คอยช่วยให้นักเรียนได้ติดตามการสอนไปด้วย ตกลงใจเสียให้แน่ว่า ควรเอาหัวข้อสําคัญใดขึ้นก่อนและ
ตามหลัง สําหรับวิธีการดังกล่าวแล้วนี้อาจไม่เป็นปัญหาอะไรมาก สําหรับวิชาที่มีวิธีการตายตัวอยู่แล้ว
เพราะเราจะต้องดําเนินการตามขั้นตอนเป็นลําดับไปตามวิธีการที่ตายตัวนั้น ๆ บางวิชาอาจจัดระเบียบรวม
หัวข้อต่าง ๆ หลายหัวข้อให้เป็นหัวข้อเดียวกันก็ได้