Page 29 - TeachingSkill
P. 29
4 - 8
5.7.1.7 กระดานดําถือว่าเป็ นสื่อกลางของการร่วมเรียน ของนักเรียนกับ
ครูผู้สอน นักเรียนจะมีความรู้สึกว่าได้ร่วมการเรียนกับนักเรียนในชั้น เมื่อปรากฎว่า คําตอบของนักเรียนก็ดี
ข้อเสนอแนะหรือคําวิจารณ์ ได้นํามาเขียนลงบนกระดานดําหน้าชั้นเรียนนั้น ๆ
5.7.2 การใช้กระดานดํา USING THE CHALKBOARD)
5.7.2.1 ควรจะเตรียมอุปกรณ์ต่าง ๆ ที่ใช้กับกระดานดําเสียก่อนทําการสอนไว้ให้
พร้อม เช่น ชอล์ค, ไม้บรรทัด, แปรงลบกระดาน ฯลฯ เป็นต้น
5.7.2.2 ตรวจสอบบนกระดานดําว่า มีส่วนใดที่สะท้อนแสงบ้างต้องให้มั่นใจว่า
นักเรียนที่เข้ามาเรียนในห้องเรียนสามารถเห็นกระดานดําได้ทุกคน ตรวจสอบแสงไฟ เพราะบางทีอาจมี
ความจําเป็นที่จะต้องลดม่านหน้าต่างลง ถ้าปรากฎว่ากระดานดํายังมีการสะท้อนแสงอยู่ ก็อาจแก้ไขโดยใช้
แผ่นกระดาษห่อของมาติดทับแล้วใช้ชอล์คสีเขียวแทน (สีม่วงหรือสีดํา) กระดานดําซึ่งทาสีเขียวไว้จะช่วย
ขจัดในเรื่องการสะท้อนแสง และผ่อนคลายความเมื่อยล้าของสายตา กระดานดําที่กล่าวนี้อาจทําจากไม้
แข็งเรียบทาสี เช่น แผ่นไม้อัด ทาสีนํ้ามันสีเขียว ชอล์คสีเหลืองนับว่าถ้าเขียนแล้วมองเห็นได้ชัดเจนดี
กระดานดําสีเขียวดีที่ใช้ชอล์คได้มากสีกว่ากระดานสีดํา
5.7.2.3 รักษากระดานดําให้สะอาด กระดานดําที่สกปรกย่อมแสดงถึง
ครูผู้สอนไม่ได้เตรียมตัว
วิธีใช้กระดานดํา
1. ตรวจสอบอุปกรณ์ต่าง ๆ ที่ใช้ประกอบให้ครบถ้วน
2. ตรวจว่ามีแสงสะท้อนบนกระดานหรือไม่
3. ลบให้สะอาดและเกลี้ยง
4. เตรียมร่างเบา ๆ ไว้ล่วงหน้าในเรื่องที่จะสอน
5. เขียนด้วยข้อความง่าย ๆ และสั้น ๆ
6. เขียนค่อนข้างบรรจงให้อ่านง่าย
7. ใช้ชอล์คสีเพื่อเน้น หรือ แสดงความแตกต่าง
8. อย่าเขียนให้แน่นเต็มกระดานไปหมด
9. ลบส่วนที่ไม่ใช้ออกเสีย
10. ร่างภาพที่ยากไว้ล่วงหน้าเสียก่อน
5.7.2.4 ต้องเตรียมงานไว้ล่วงหน้า แสดงแผนผังของแผนบทเรียนก่อนที่จะ
เริ่มทําการสอนให้ใช้ดินสอร่างบนกระดานดําไว้เสียก่อน โดยไม่ให้นักเรียนเห็น เสร็จแล้วก็จะสามารถเขียน
กระดานดําใช้ขณะทําการสอน หรือจะวาดภาพใด ๆ ได้ถูกต้องและสวยงามดี
5.7.2.5 ให้เนื้อเรื่องที่จะสอนง่ายและสั้น คําอธิบายสั้น ๆ ที่รวบรัดจะให้ผลดี
ที่สุด การอธิบายด้วยคําพูดเพียงคําเดียวมักจะยํ้าจุดสําคัญได้เสมอ
5.7.2.6 ให้เขียนตัวหนังสือให้สามารถอ่านได้ง่าย และโตพอให้สามารถเห็นได้ทั่ว
ทั้งชั้นในห้องเรียน อย่าให้เมื่อเขียนแล้วตัวหนังสือจะค่อย ๆ ลดขนาดลง