Page 30 - TeachingSkill
P. 30

4 - 9


                                                     5.7.2.7 ให้ใช้ชอล์คเพื่อเน้น และให้เห็นความเปลี่ยนแปลงชอล์คสีเหลือง  และ
                    สีเขียวมักนิยมใช้ขีดเส้นใต้ข้อความต่างๆ ที่ต้องการเน้น อย่างไรก็ดี สีบางสีจะเห็นไม่ค่อยชัด ให้ทดลองดู

                    เสียก่อนเป็นการล่วงหน้า  ซึ่งการทดลองล่วงหน้านี้แหละนับได้ว่าเป็นสิ่งที่สําคัญมาก
                                               5.7.2.8 อย่าเขียนจนเต็มและแน่นกระดานดํา  ให้มีการเว้นระยะระหว่าง

                    จุดสําคัญบ้าง จึงจะนับว่าได้ผลกว่าจะเขียนจนเต็มและแน่น

                                                     5.7.2.9 ให้ลบเอาข้อความที่ไม่เกี่ยวข้องออกเสีย  ให้เขียนเรื่องหรือผลงานที่
                    ไม่เกี่ยวข้องไว้ทางด้านอื่น     เพื่อไม่เป็นการดึงความสนใจของนักเรียนไปเสียจากจุดที่กําลังสอนอยู่   การ

                    ลบกระดานต้องใช้แปรงหรือผ้า ห้ามใช้มือลบเป็นอันขาด

                                                     5.7.2.10 ให้เตรียมการเขียนตัวหนังสือ หรือภาพที่มีความยุ่งยากสลับซับซ้อน
                    ไว้เสียแต่เนิ่นแล้วใช้กระดาษปิดเอาไว้  ดึงกระดาษที่ปิดไว้ออกเมื่อถึงเวลาใช้  วิธีการเช่นนี้จะทําให้

                    ประหยัดเวลา และการสอนจะเป็นไปอย่างราบรื่น
                            5.8 กระดานบุด้วยผ้าขนสัตว์และกระดานแม่เหล็ก  ( BLANKET AND MAGNETIC

                    BOARDS )
                                        เครื่องช่วยฝึกชนิดนี้นับว่ามีประโยชน์โดยเฉพาะอย่างยิ่งในการสอนเกี่ยวกับการจัดหน่วย,

                    รูปขบวนต่าง ๆ และเรื่องทางยุทธวิธี  ซึ่งต้องการให้เห็นภาพต่าง ๆ เช่น การรวมกําลังหรือการเคลื่อนที่ หรือ
                    เคลื่อนไหวของภาพ  หรือเครื่องหมายที่เราจัดทําขึ้นนั้น กระดานผ้าขนสัตว์ทําได้โดยใช้ผ้าห่มขนสัตว์ขึงบน

                    แผ่นกระดานหรือขึงกับกรอบไม้ แล้วใช้กระดาษทรายอย่างหยาบติดบนแผ่นกระดาษภาพที่เราทําขึ้น  เมื่อ
                    เวลาต้องการจะติดภาพบนผ้าขนสัตว์  ก็ใช้วิธีกดลงให้แน่นแล้วเลื่อนลงเล็กน้อย  ตัวแผ่นภาพนั้นก็จะติดอยู่

                    ได้ ในทํานองเดียวกัน อาจใช้กระดาษเหนียวช่วยติดภาพลงบนกระดานดํา หรือวัสดุพื้นเรียบใด ๆ ก็ได้ หรือ

                    จะใช้เทปแม่เหล็กติดไว้หลังภาพแล้วนํามากดติดกับกระดานเหล็กก็ได้เช่นกัน
                            5.9 ภาพยนตร์  (TRAINING FILMS)

                                        ภาพยนตร์ได้ใช้ผลในการแสดงภาพ และสาธิตหลักการต่าง ๆ และการปฏิบัติการต่าง ๆ
                    ซึ่งมีความยากลําบากในการอธิบายในชั้นเรียนได้ ภาพยนตร์เป็นวิธีการมอบความรู้ให้แก่ผู้ชมคือนักเรียนได้

                    อย่างมีระเบียบขั้นตอน  และกว้างขวางมาก  ซึ่งเป็นผลให้เกิดการเร้าอารมณ์ และเปลี่ยนอิริยาบถ สามารถ
                    สอนได้เร็วและครบถ้วนสมบูรณ์กว่าวิธีการบรรยาย และสามารถสอนได้สําหรับนักเรียนผู้ได้รับการศึกษามา

                    น้อยด้วย  เพื่อผลแห่งการฝึกสอนให้ได้ผลมากที่สุด  ครูผู้สอนควรดําเนินการตามวิธีการสอนด้วยภาพยนตร์

                    ดังต่อไปนี้.-
                                       5.9.1 ให้ทบทวนและศึกษาภาพยนตร์นั้น ๆ  เสียก่อนล่วงหน้า  ไม่มีภาพยนตร์ใดที่

                    จะมีความสมบูรณ์ในตัวของมันเอง  ให้เลือกจุดสําคัญที่จะทําการเน้นให้นักเรียนทราบตอนใดที่อาจข้ามไป

                    หรือจุดเด่นที่เห็นได้ชัด และส่วนใดซึ่งอาจล้าสมัยหรือมีความต้องการอธิบายเพิ่มเติม ให้วางแผนในเรื่อง
                    การกล่าวนําเสียล่วงหน้าและติดตามไปด้วยขั้นการปฏิบัติต่าง ๆ ในการฉายภาพยนตร์นั้น  หลักฐานอ้างอิง

                    เกี่ยวกับภาพยนตร์ของครูผู้สอนอาจขอดูได้จาก ห้องเก็บภาพยนตร์และจะช่วยครูผู้สอนได้มากในการ
   25   26   27   28   29   30   31   32   33   34   35