Page 190 - เครื่องมือช่างชั้นต้น
P. 190
9-7
การเปลี่ยนทิศทางจากเดินหน้าไปถอยหลัง หรือถอยหลังไปเดินหน้า ต้องหยุดรถให้สนิทก่อนทุก
ครั้ง
9.10.6 รอบของเพลาข้อเหวี่ยงของเครื่องยนต์ขณะทํางานควรอยู่ระหว่าง 1,200 - 1,800 รอบ/นาที
9.11 การเลือกใช้ความเร็ว
9.11.1 เกียร์ 1 ใช้เมื่อรถบดใส่นํ้าเต็มที่ทั้ง 2 ถัง (ประมาณ 4,500 กิโลกรัม) และใช้ในการบดอัด
ทราย หรือการขับขึ้นลาด
9.11.2 เกียร์ 2 ใช้เมื่อรถบดใส่นํ้าเต็มที่ (ตามข้อแรก, เกียร์ 1) และ ใช้ในงานบดอัดผิวแอสฟัลท์
เกียร์ 1-4 ใช้งานเมื่อรถบดไม่ได้เติมนํ้าถ่วง ใช้ในการเคลื่อนที่รถบนถนน
9.12 การหยุดรถบด
9.12.1 เบาเครื่องยนต์สุด
9.12.2 เหยียบแป้นห้ามล้อใช้งาน, เหยียบแป้นคลัตช์
9.12.3 ผลักคันเปลี่ยนทิศทาง และความเร็วให้อยู่ในตําแหน่งว่าง
9.12.4 เข้าห้ามล้อจอด (ดึงขึ้น)
9.12.5 เบาเครื่องก่อนดับประมาณ 3-5 นาที
9.12.6 ตรวจสอบสิ่งผิดปกติ, การรั่วซึม, สิ่งหลวมคลอนต่าง ๆ
9.12.7 บิดกุญแจติดเครื่องไปที่ตําแหน่ง OFF
9.13 หลักการบดทับของรถบด
9.13.1 การบดทับวัสดุใดใดจะให้แน่นและได้ค่าบดทับตามต้องการนั้นขึ้นอยู่กับสภาพของวัสดุ
ปริมาณนํ้าในวัสดุ อุณหภูมิอากาศ แรงยึดเหนี่ยว การเสียดทานของวัสดุ สัมประสิทธิ์การยุบตัวและการซึม
โดยเฉพาะความแน่นของแรงรับนํ้าหนักภายใต้พื้นของวัสดุที่ทําการบดอัด
9.13.2 ให้บดตามแนวยาวขนานกับแนวศูนย์กลางทาง(ถนน)และเมื่อสุดระยะทางของการบดทับ
แล้วให้บดถอยหลังกลับโดยไม่ทับแนวเดิม (คนละข้างกับแนวศูนย์กลางทาง)
9.13.3 ในแต่ละเที่ยวของการบดทับ ควรบดเหลื่อมกันครึ่งหนึ่งของความกว้างของล้อหลังทั้งหมด
(5 ล้อ) ประมาณ 1.85 เมตร
9.13.4 บดทับให้เสร็จก่อนเชื้อประสานแข็งตัว และขณะบดทับต้องคํานึงถึงความชื้นของวัสดุ
ที่บดด้วย
9.13.5 ควรเริ่มต้นการบดทับจากตํ่าไปหาด้านสูง (เพื่อรักษาความนูนกลาง) และควรบดด้วยเกียร์
1 และ 2
9.13.6 ไม่ควรจะเลี้ยวกลับบนผิวที่ได้ทําการบดทับแล้ว เว้นแต่จําเป็นจริง ๆ ค่อยเลี้ยวช้า ๆ
9.13.7 ไม่ควรหยุด หรือจอดบนชั้นผิวบิทูมินัสหรือ แอสฟัลด์ติคคอนกรีตที่เพิ่งลงใหม่ ๆ เพราะจะ
ทําให้เกิดเป็นคลื่นบนผิวนั้น