Page 65 - ทางและสนามบิน
P. 65
4-20
6.2.1.7 กรณีใช้วัสดุจำพวก Non Plastic
ที่เมื่อทดลองตาม ทล.-ท. 205 “วิธีการทดลองหาขนาดเม็ดของวัสดุโดย
ผ่านตะแกรงแบบล้าง” มีส่วนผ่านตะแกรงขนาด 2.00 มิลลิเมตร เกินกว่าร้อยละ 90 และได้คุณภาพตามข้อ
(1) ถึง (6) แล้วหากนำมาใช้ทำวัสดุ คัดเลือก ก. จะต้องทำการบดทับให้ได้ความแน่นแห้งสม่ำเสมอตลอดไม่ต่ำ
กว่าร้อยละ 100 ของความแน่นแห้งสูงสุดที่ได้จากการทดลองตาม ทล.-ท. 108 “วิธีการทดลอง Compaction
Test แบบสูงกว่ามาตรฐาน”
ื
6.2.2 เครื่องจักรและเครื่องมอ
ก่อนเริ่มงาน ผู้รับจ้างจะต้องเตรียมเครื่องจักรและเครื่องมือต่าง ๆ ที่จำเป็นจะต้องใช้
ในการดำเนินงานทางด้านวัสดุ และการก่อสร้างไว้ให้พร้อมที่หน้างาน ทั้งนี้ต้องเป็นแบบ ขนาด และอยู่ใน
สภาพที่ใช้ได้อย่างมีประสิทธิภาพตามที่นายช่างผู้ควบคุมงานเห็นสมควร
6.2.3 วิธีการก่อสร้าง
6.2.3.1 การเตรียมการก่อนการก่อสร้าง
(1) การเตรียมวัสดุ
วัสดุจากแหล่งเมื่อผ่านการทดสอบคุณภาพว่า ใช้ได้แล้ว และ
เตรียมที่จะนำมาใช้ทำชั้นวัสดุคัดเลือก ก. หากไม่ได้นำมาลงบนชั้นวัสดุคัดเลือก ข. หรือชั้นอื่นใดทได้เตรียมไว้
ี่
โดยตรงให้กองไว้เป็นกอง ๆ ในปริมาณที่พอสมควร บริเวณที่เตรียมไว้กองวัสดุจะต้องได้รับความเห็นชอบจาก
นายช่างผู้ควบคุมงานโดยปราศจากสิ่งไม่พงประสงค์ต่าง ๆ
ึ
การตักวัสดุมวลรวม และการขนส่งวัสดุมวลรวมจะต้องกระทำด้วย
ั
ความระมดระวังไม่ให้เกิดการแยกตัว ( Segregation ) ของส่วนหยาบและละเอียด ในกรณีที่วัสดุมวลรวมซึ่ง
ขนส่งไปเกิดการแยกตัวให้ทำการผสมใหม่ในสนาม ( Road-Mix )
(2) การเตรียมพื้นที่ก่อสร้าง
ื่
ชั้นวัสดุคัดเลือก ข. หรือชั้นอนใดที่จะต้องรองรับชั้นวัสดุคัดเลือก
ก. จะต้องเกลี่ยแต่งและบดทับให้ได้ แนว ระดับ ความลาด ขนาด รูปร่าง และความแน่นตามที่ได้แสดงไว้ใน
แบบ ก่อนลงวัสดุมวลรวม ผู้รับจ้างจะต้องเตรียมพร้อมในด้านต่าง ๆ เช่น เครื่องจักรและเครื่องมือในการ
ทำงาน และเครื่องหมายควบคุมการจราจรที่เกี่ยวกับการกอสร้าง ทั้งนี้จะต้องได้รับความเห็นชอบจากนายช่างผู้
่
ควบคุมงานแล้ว
6.2.3.2 การก่อสร้าง
ภายหลังจากที่ได้ดำเนินการตามข้อ (ก) แล้วให้ราดน้ำชั้นวัสดุคัดเลือก ข.
หรือชั้นอื่นใดที่รองรับชั้นวัสดุคัดเลือก ก.ให้เปียกชื้นสม่ำเสมอโดยทั่วตลอด ใช้เครื่องจักรที่เหมาะสมขนวัสดุ
มวลรวมไปปูลงบนชั้นวัสดุคัดเลือก ข. หรือชั้นอื่นใดที่ได้เตรียมไว้ แล้วตีแผ่ เกลี่ยวัสดุมวลรวม คลุกเคล้าผสม
น้ำ โดยที่ประมาณว่าให้มีปริมาณน้ำที่ Optimum Moisture Content + - 3
หลังจากที่ได้เกลี่ยแต่งวัสดุมวลรวมจนได้ที่แล้วให้ทำการบดทับทันทีด้วย
้
เครื่องมือบดทับที่เหมาะสมบดทับทั่วผิวหน้าอย่างสม่ำเสมอ จนได้ความแน่นตลอดความหนาตามขอกำหนด