Page 67 - ทางและสนามบิน
P. 67
4-22
การทดสอบความแน่นของการบดทับ ให้ดำเนินการทดสอบตาม ทล.-ท.
603 “วิธีการทดลองหาค่าความแน่นของวัสดุในสนามโดยใช้ทราย” ทุกระยะประมาณ 100 เมตรต่อ 1 ช่อง
จราจร หรือประมาณพื้นที่ 700 ตารางเมตร ต่อ 1 หลุมตัวอย่าง
6.2.5 การวัดปริมาณงานและการจ่ายค่างาน
6.2.5.1 วิธีการวัดปริมาณงาน
การวัดปริมาณงานวัสดุคัดเลือก ก. ให้ทำการตรวจสอบค่าระดับ และ
ทดสอบความแน่นของการบดทับถูกต้องตามที่กำหนดแล้ว โดยวัดเป็นปริมาตรบดอัดแน่นตามที่ได้ก่อสร้างจริง
ตามแบบ ปริมาณงานมีหน่วยเป็นลูกบาศก์เมตร
6.2.5.2 วิธีการจ่ายค่างาน
การจ่ายค่างานตามรายการนี้ หมายรวมถึง ค่าวัสดุ ค่าเครื่อง ค่าแรงงาน
และอน ๆ ที่จำเป็นเพื่อการก่อสร้างให้ถูกต้องเรียบร้อยตามข้อกำหนด โดยคิดจ่ายค่างานตามผลงานที่แล้วเสร็จ
ื่
แต่ละงวดในราคาต่อหน่วยในสัญญา
7. งานรองพื้นทางวัสดุมวลรวม ( SOIL - AGGREGATE SUBBASE )
่
หมายถึง การกอสร้างชั้นรองพื้นทางบนชั้นวัสดุคัดเลือกหรือชั้นอื่นใดที่ได้เตรียมไว้แล้ว ด้วยวัสดุ
้
มวลรวม ที่มีคุณสมบัติตามขอกำหนด โดยการเกลี่ยแต่งและบดทับให้ได้แนว ระดับ และวัสดุรูปร่างตามท ี่
แสดงไว้ในแบบ
7.1 วัสดุ
วัสดุมวลรวมหรือวัสดุที่มีเม็ดแข็ง ทนทาน มีส่วนหยาบผสมกับส่วนละเอียดที่มีคณสมบัติ
ุ
้
วัสดุที่มีเชื้อประสานที่ดี ปราศจากกอนดินเหนียว และวัชพืชอื่น ๆ จากแหล่งที่ได้รับความเห็นจากนายช่างผู้
ควบคุมงานแล้ว ส่วนที่จับตัวกันเป็นก้อนแข็ง หรือยึดเกาะกันมีขนาดโตกว่า 50 มิลลิเมตร จะต้องกำจัด
ออกไปหรือทำให้แตก และผสมเข้าด้วยกันให้มีลักษณะสม่ำเสมอ ในกรณีทไม่ได้ระบุคุณสมบัติไว้เป็น
ี่
อย่างอื่น วัสดุที่ใช้รองรับพื้นทางวัสดุมวลรวม จะต้องมีคุณสมบัติดังต่อไปนี้
7.1.1 มีค่าความสึกหรอ เมื่อทดลองตาม ทล.- ท. 202 “วิธีการทดลองหาค่าความสึก
หรอของ Coarse Aggreate โดยใช้เครื่อง Los Angeles Abrasion” ไม่เกินร้อยละ 60
ี่
7.1.2 มีขนาดคละทดี เมื่อทดลองตาม ทล.-ท.205 “วิธีการทดลองหาขนาดเม็ดวัสดุโดย
ผ่านตะแกรงแบบล้าง” ต้องมีขนาดหนึ่งขนาดใดตามตารางที่ 4.1
7.1.3 มีค่า Liquid Limit เมื่อทดลองตาม ทล.-ท. 102 “วิธีการทดลองหาค่า Liquid
Limit ( L.L ) ของดิน” ไม่เกินร้อยละ 35
7.1.4 มีค่า Plasticity Index เมื่อทดลองตาม ทล.-ท. 10 “วิธีการทดลองหาค่า Plastic
Limit และ Plasticity Index” ไม่เกินร้อยละ 11
7.1.5 มีค่า CBR เมื่อทดลองตาม ทล.-ท. 109 “วิธีการทดลองหาค่า CBR” ไม่น้อยกว่า
ร้อยละ 25 ที่มีความแน่นแห้งของการบดอัดร้อยละ 95 ของความแน่นแห้งสูงสุดที่ได้จากการทดลองตาม
ทล.-ท.108 “วิธีการทดลอง Compaction Test แบบสูงกว่ามาตรฐาน”