Page 25 - ท่าเรือและท่าเทียบเรือ
P. 25

2-1

                                                         บทท 2
                                                               ี่

                                          การทอดสมอ ( ANCHORAGES )


                      นอกจากจะมีท่าเทียบเรือ ณ บริเวณแนวฝั่งแล้ว     ท่าเรือโดยมากจะต้องการบริเวณ     ที่สำหรับ
               ทอดสมอเพอในกรณีที่เรือสามารถจะจอดคอย เข้าเทียบจอดยังท่าเทียบเรือหรืออาจจะทำการขนถ่ายลงสู่เรือ
                         ื่
               ขนถ่ายเลยก็ได้

               1.  วิธีการยึดเรือ ( TYPES OF MOORING )


                      1.1  การใช้สมอของเรือ ( SHIP’S GROUND TACKLE )


                              สำหรับการยึดเรือ โดยใช้สมอของเรือนั้น หากบริเวณใดมีความลึกของน้ำพอเหมาะแล้ว ก็ให้
               หมายไว้ด้วยทุ่นเรือก็จะแล่นเข้าไปยังบริเวณนั้นแล้วก็ทิ้งสมอลง


                      1.2  ทุ่นจอดเรือประจำที่ (FIXED MOORING)

                              โดยปกติจะประกอบด้วย การใช้สมอเดี่ยวกับทุ่น หรือการใช้สมอหลายตัวกับทุ่น เรือจะผูกให้
               อยู่กับที่ตัวทุ่น

                              ในกรณีที่เรือใช้สมอเดี่ยวหรือเมื่อใช้ทุ่นเดี่ยวแล้ว  เรือที่ผูกจอดอยู่นั้น  จะแกว่งไปได้อย่าง

                                              ิ
               อิสระเป็นรูปโค้งวงกลม  ทั้งนี้ขึ้นกับทศทางของกระแสน้ำและทิศทางของกระแสลม  การยึดเรือชนิดนี้เรียกว่า
               การยึดแบบแกว่งได้อิสระ (FREE-SWINGING MOORING)  (รูปที่ 2.1)

                              หากพื้นที่ในการทอดสมอมีจำกัด  ก็จำเป็นจะต้องหาวิธียึดเรือให้ลดรัศมีการแกว่งของเรือลง
               ให้น้อยที่สุด ในการนี้ควรพิจารณาใช้ การยึดเรือทงหัวและท้าย    (BOW AND STERN MOORING ) (รูปที่
                                                        ั้
               2.2)  หรือการยึดแผ่  (  SPREAD  MOORING  )  การยึดเรือทั้งหัวและท้ายนี้จะทำให้เรือตรึงอยู่ทั้งข้างหน้าและ

               ท้าย  การแกว่งของเรือจะจำกัดลงให้เหลือแต่การแกว่งทางข้าง  ซึ่งทั้งนี้ขึ้นอยู่กับระยะห่างระหว่าง  การ
               ทอดสมอทางหัวและท้ายนั่นเอง  การที่จะให้ทรงตัวอยู่กับที่ดีขึ้นอีกนั้น  อาจจะกระทำได้โดยใช้สมอข้างหัว

               และท้ายข้างละ  2    ตัว  ซึ่งเรียกว่า  การยึดแผ่ซึ่งอย่างไรก็ดีสมอหรือทุ่นผูกเรือนี้  จะต้องแยกจากกันทั้งหัว

               และท้าย ฉะนั้น เรือจะถูกรั้งไว้มิให้แกว่งไปมาได้ไม่ว่าในทิศทางใด ๆ       โดยปกติการยึดเรือแบบนี้จะต้อง
               กำหนดให้ขนานกับทศทางของกระแสน้ำที่แรง ทั้งนี้เพอลดแรงถอนเครื่องยึดเรือและที่ผูกเรือลงได้
                                ิ
                                                            ื่
   20   21   22   23   24   25   26   27   28   29   30