Page 27 - ท่าเรือและท่าเทียบเรือ
P. 27
2-3
4.2 สมอมีกะ (STOCK OR ADMIRALTY ANCHOR)
สมอแบบนี้เป็นที่ล้าสมัยแล้ว เป็นสมอที่มีก้านและกะกระด้าง ใบสมอทั้งสองข้างก็พบไม่ได้
ั
ี
โดยปกติเวลาทิ้งให้เกาะดิน ใบสมอมักจะจิกดินเพียงข้างเดียว แต่กำลังในการยึดดินจะดีกว่าสมอไม่มกะ
เล็กน้อย
4.3 สมอรูปเห็ด (MUSHROOM ANCHOR)
เป็นสมอที่มีก้านกระด้าง และมีหัวกลมบานคล้ายจานเหมาะในการที่จะใช้กับพื้นน้ำอ่อนเป็น
โคลน กำลังในการยึดเกิดขึ้นโดยการจมตัวลงไปลึก ๆ นิยมใช้กับเรือขนาดเล็ก ๆ กำลังในการยึดไม่ดีเหมือน
สมอไม่มีกะหรือมีกะ
4.4 สมอน้ำหนักเบา (LIGHTWEIGHT ANCHOR)
รูปร่างคล้ายคลึงกับสมอ ไม่มกะ เรือขนาดเล็ก ๆใช้กันมาก มีกำลังในการยึดที่ไม่แน่นอน
ี
และเบาเกินไปที่จะใช้กับเรือน้ำลึก
4.5 สมอคอนกรีต (CONCRETEBLOCK ANCHOR)
สมอแบบนี้กองทัพเรือผลิตขึ้นเป็นแบบแสวงเครื่อง เป็นแท่งคอนกรีตที่มีด้านเท่ากัน และ
มีความหนาเท่ากับ 1 ใน 3 ของความยาวของด้านหนึ่ง และทำปีกยื่น 2 ข้างให้มีลาดเล็กน้อย ปีกนี้จะขุดดินลง
ไปเมื่อตัวสมอถูกลากการทำรูปเช่นนี้ จะทำให้มีกำลังในการยึดไม่ได้แน่นอน ฉะนั้น ไม่เป็นสิ่งที่ควรจะใช้
นอกจากจะไม่มีสมออย่างอื่นแล้ว และเพื่อเป็นการประหยัดอาจจะทำปีกยื่นเพียงข้างเดียวได้
5. การคำนวณเครองยึดเรือ
ื่
ในเขตยุทธบริเวณนั้นโดยมากมักจะใช้การยึดเรือโดยอาศัยสมอของเรือเสมอ ๆ แต่อย่างไรก็ดีในการ
ถอนสมอเรือโดยเฉลี่ยแล้วลำหนึ่ง ๆ จะใช้เวลาประมาณ 15 นาที ฉะนั้น ในกรณีที่ต้องการเคลื่อนเรือออกจาก
บริเวณทอดสมอโดยเร็ว เช่น อาจถูกโจมตีโดยอาวุธปรมาณูแล้ว การยึดเรือโดยใช้สมอของเรือก็เป็นสิ่งที่ไม่
พึงประสงค์ ดังนั้น ก็อาจเป็นสิ่งที่ทหารช่างจะต้องประสานกับทหารขนส่งเพอทำการออกแบบทุ่นผูกเรือประจำ
ื่
ที่
เมื่อเรือเข้าผูกกับทุ่นเรือประจำที่แล้ว แรงที่กระทำต่อทุ่นผูกเรือนั้นจะพิจารณาได้ดังนี้ จงพิจารณา
ขณะที่ทุ่นลอยอยู่ จะเห็นได้ว่า แรงต่าง ๆ ที่กระทำต่อทุ่นนั้นเป็นแรงในทางราบทั้งสิ้น ซึ่งแรงเหล่านี้จะ
ถ่ายทอดไปถึงตัวสมอ แรงราบที่กระทำต่อเครื่องผูก คือ ผลรวมของแรงลม แรงลู่ของกระแสน้ำ แรงสั่นและ
แกว่งของเรือ ซึ่งอาจจะเขียนเป็นสมการได้ดังนี้
H = H + H + H เมื่อ
S
C
W
H = เป็นแรงที่กระทำต่อทุ่นผูกเรือหรือสมอที่ใช้
H = เป็นแรงลมทั้งหมด
W
H = เป็นแรงสั่นและแกว่งของเรือ
S
H = เป็นแรงลู่ของกระแสน้ำ
C