Page 23 - ท่าเรือและท่าเทียบเรือ
P. 23
1-16
- ใช้วัสดุก่อสร้างที่หาได้ในท้องถิ่น เช่น ไม้ คานเหล็กรูปตัวไอ และเสาเหล็กพืด
้
ื่
ทำเขอนกันดิน ในการปฏิบัติงาน นั้น รถประจำทาง และรางรถไฟที่ขาศึกได้ปัก และทิ้งไว้รายทางตามทอง
้
น้ำทั้งด้านนอกและด้านในของเขื่อนกันคลื่น ฝ่ายเราได้ดัดแปลงให้เป็นตำบลขนถ่ายหิน และเครื่องมือหนัก
มาแล้ว โดยใช้เศษอิฐเศษหินและหินใหญ่ทิ้งลงไปในแนวที่ปักเหล็กและทิ้งรถไว้
- ทำการซ่อมประตูระบายน้ำของประตูน้ำให้ใช้ชั่วคราวสำหรับ เพื่อควบคุม
ระดับน้ำขึ้นลงในอ่างน้ำของบริเวณท่าเรือ การทำแบบนี้อาจจะเป็นสิ่งธรรมดาที่ต้องกระทำในชั่วระยะเวลาอัน
สั้น ซึ่งจะทำให้มีที่จอดเรือกำหนดลงได้หลายแห่งภายในแอ่งน้ำนี้
ขั้นที่ 3 เมื่อเราได้กวาดล้างบริเวณท่าเรือ ทำการลาดตระเวณ และประเมินค่าทำ
เครื่องให้ความสะดวกในการขนถ่ายชายหาด และสร้างท่าเทียบเรือลอย และสร้างสิ่งก่อสร้างลำลอง งาน
ขั้นต่อไปก็จะเป็นการวางแผนและเริ่มงานที่จะให้ความถาวรมากขึ้น สำหรับใช้ในระยะยาวงานเหล่านี้จะ
ประกอบด้วย
- ทำการซ่อมและสร้างใหม่แก่เขอนเทียบเรือ สะพานเทียบเรือ และโครงสร้างอื่น ๆ
ื่
- ทำการสร้างโครงสร้างที่จะใช้เป็นท่าเทียบเรือแห่งใหม่ชั่วคราว
- ทำงานเกี่ยวกับถนน ทางรถไฟ และบริเวณที่ใช้เป็นคลังสัมภาระ
้
- ขุดลอกช่องทางเขาออก และช่องระหว่างสะพานเทียบเรือให้ได้ความลึกที่ต้องการ
- ทำบริเวณให้จอดทอดสมอเพิ่มเติม
ขณะที่งานขั้นที่ 2 กำลังดำเนินไป ก่อนที่งานขั้นที่ 3 จะได้เริ่มลงมือจริง ๆ นั้น ทหารช่าง
จะต้องพิจารณาว่า เครื่องให้ความสะดวกสำหรับท่าเทียบเรือใหม่ มีอะไรบ้างที่จำเป็นต้องสร้าง หรือซ่อม
เพื่อให้ทราบถึงความสามารถของท่าเรือที่ประสงค์ การทำท่าเทียบเรือให้เป็นแนวตรงการขุดลอกให้ลึก หรือ
การขยายทางน้ำให้กว้างขึ้น เป็นสิ่งที่ต้องการ งานนี้จำเป็นต้องประสานงานกับ สธ. 4 และเจ้าหน้าที่ของ
ท่าเรือ เพื่อให้บรรลุถึงข้อตกลงร่วมกันเกี่ยวกับลำดับความสำคัญ ที่จะให้เหล่าทหารขนส่ง สามารถปฏิบัติการ
ท่าเรือได้ประสิทธิภาพอย่างสูงยิ่ง การเสนอและเบิกวัสดุก่อสร้าง และเครื่องมือที่จำเป็นจะต้องเตรียมและวาง
ใบเบิกทันที