Page 19 - ท่าเรือและท่าเทียบเรือ
P. 19

1-12

                      5.4   ความมงหมายของการวางแผน
                                  ุ่
                              จากการรวบรวมข่าวสารที่จะหาได้ทั้งหลายและมาตรการต่าง ๆ แล้ว    ความมุ่งหมายในการ
               ฟื้นฟูท่าเรือก็อาจจะกล่าวได้ว่า มีอยู่ด้วยกัน 3 ประการ คือ

                                     1. เพื่อรวบรวมงานทั้งหลายที่จำเป็นจะต้องกระทำ

                                     ื่
                              2.  เพอจะใช้พิจารณาแรงงานและเครื่องอำนวยความสะดวกที่จะมให้นั้นเป็นประโยชน์และ
                                                                                      ี
               ประหยัดมากที่สุด
                              3.  เพื่อพิจารณาเสนอความต้องการ    ที่จำเป็นพร้อมทั้งทำการเบิกเกี่ยวกับ            อปกรณ์
                                                                                                    ุ
               ประเภท 4 ซึ่งเป็นวัสดุก่อสร้างทางช่างเป็นส่วนใหญ่ เครื่องมือพิเศษและหน่วยที่จะปฏิบัติงาน
                                     3.1 การพิจารณาเกี่ยวกับงานที่จำเป็นต้องทำ     ในเรื่องนี้จำเป็นจะต้องมี

               ปัจจัยบางอย่างเข้าช่วยเหลือในการพิจารณา  กล่าวคือ  ก่อนอื่นเราต้องรวบรวมงานทั้งหลายนั้น  และ
               ความสำเร็จซึ่งจะกระทำได้โดยเร็วที่สุดเพื่อที่จะให้ท่าเรือนั้นใช้ประโยชน์ได้อย่างรวดเร็วที่สุด          เราจะต้อง

               พิจารณาถึงเทคนิคการปฏิบัติของเหล่าทหารขนส่งไปพร้อม  ๆ  กันด้วย  ทั้งนี้อาจจะต้องการการประสานงาน
               โดยใกล้ชิดกับทหารขนส่ง        ไม่เฉพาะแต่จะจัดเตรียมแต่เรื่องสะพานเทียบเรือและเขื่อนเทียบเรือเท่านั้น

               แต่จะต้องพิจารณาถึงพื้นที่ที่จะใช้เป็นแหล่งรวมเครื่องมือและวัสดุก่อสร้างด้วย   การจราจรในการปฏิบัติงาน

               ย่านรับ ย่านแยกประเภทและย่านจ่าย คลังเก็บพัสดุและสิ่งอำนวยความสะดวกที่คล้ายคลึงนี้         ก็จะต้อง
               นำมาพิจารณาด้วย

                                            3.2 การใช้แรงงานและเครื่องอำนวยความสะดวกให้ได้ผล และประหยัด

               หมายความว่าเราจะต้องใช้ความสามารถที่มีอยู่ในการทำงานต่าง ๆ นั้น โดยเปลืองแรงงาน  และวัสดุน้อยที่สุด
               แต่ผลิตงานได้มากที่สุด เช่น   ปัญหาของการสร้างเครื่องให้ความสะดวกชายฝั่ง            กับการฟื้นฟูท่าเทียบ

               เรือ เป็นต้น          จากความชำนาญทราบว่าสัมภาระที่จะรับและขนย้ายไปจากฝั่งนั้น จะเฉลี่ยได้ประมาณ

               1000 ตัน/ความยาวของฝั่ง 1 ไมล์ต่อวัน เรือลำเลียงมาตราฐานกับ ที่ใช้ในสงครามโลก   ครั้งที่ 2 ต้องการท่า
               เทียบเรือยาวประมาณ 500 ฟุต     และมความสามารถจะขนถ่ายได้มากกว่า 700 ตัน ในชั่วโมงทำงาน 20
                                                    ี
               ชั่วโมงต่อวัน ตัวเลขเหล่านี้นั้นยังขึ้นอยู่กับสภาพดินฟ้าอากาศดีและทะเลเรียบ     ดีด้วยหากไม่คำนึงถึงปัจจัย
               เรื่องดินฟ้าอากาศ หรือความไม่แน่นอนของความต้องการแรงงาน     และเครื่องมือในการลำเลียงสัมภาระมาสู่

                                 ่
               ฝั่งแล้ว อัตราการขนถายและการขนย้ายสัมภาระที่กล่าวแล้วเป็นสิ่งที่ทำให้แน่นอน ซึ่งเราจะได้รับโดยการฟื้นฟ ู
               ท่าเทียบเรือมากกว่าจะได้โดยการสร้างสิ่งอำนวยความสะดวกของฝั่ง    ให้มากขึ้นกว่าที่จำเป็นโดยแท้จริง
                                                             ื
                                                                                             ุ
                                        3.3 การเบิกอุปกรณ์ เครื่องมอ และกำลังพล    การเสนอและเบิกอปกรณ์
               เครื่องมือและกำลังพลนั้นจะต้องกระทำล่วงหน้า ดังนั้น   หน่วยที่จะปฏิบัติงานทั้งหลายก็จะมาอยู่ที่บริเวณจัด
               ไว้ เรื่องนี้เห็นได้แจ่มแจ้งหากปราศจากแรงงานและวัสดุแล้ว งานต่าง ๆ   ก็ไม่สามารถกระทำได้จริงทีเดียวใน

               กรณีที่เมืองนั้น มีวัสดุเป็นจำนวนมากที่ยึดได้จากเยอรมันอย่างง่ายดาย ทั้งนี้       เยอรมันไม่มีเวลาพอที่จะทำ

               การทำลายได้ทันที แต่จะเชื่อถือโชคชะตาเช่นนี้เสมอไปหรือ
   14   15   16   17   18   19   20   21   22   23   24