Page 29 - ท่าเรือและท่าเทียบเรือ
P. 29
2-5
5.4 แรงที่กระทำต่อสมอ
ั้
แรงทั้งหมดที่กระทำต่อเครื่องยึดเรือนี้ จะถูกต้านทานด้วยสมอทงหลายที่ใช้ในการนี้
สมมุติว่าเรากำลังออกแบบเครื่องยึดแบบโทรศัพท์และเป็นการยึดชนิดแกว่งได้อิสระเราได้คำนวณแล้วปรากฏ
ว่า แรงที่กระทำเครื่องยึดทั้งหมด เท่ากับ 100,000 ปอนด์ ถ้าสมมุติว่า เราจะใช้สมอแบบมาตรฐานกองทัพเรือ
ไม่มกะและพื้นท้องน้ำเป็นทรายแน่น จากตารางที่ 2.1 เราจะพบว่าสมอแบบนี้ (NSS)มีกำลังยึดในพื้นทราย
ี
แน่นเท่ากับ 7.1 เท่าของน้ำหนักของสมอในอากาศ
เมื่อ H = 7.1 Wa
เพราะฉะนั้น Wa = H / 7.1
นั่นคือนำหนักของสมอที่ต้องการใช้ = 100.000 / 7.1 = 14.100 ปอนด์
ต่อไปลองพิจารณาดูว่า จะต้องใช้สมอสักกี่ตัว เมื่อเราใช้เครื่องยึดแบบโทรศัพท์สมอจะต้องใช้
3 ตัวไม่มีปัญหาอะไร แต่ละตัวจะต้องหนัก 14.100 ปอนด์ เพอให้แต่ละตัวสามารถต้านทานแรงทั้งหมดได้
ื่
ี
และเนื่องจากเป็นชนิดแกว่างได้อิสระ เรือก็อาจจะหมุนไปจนทำให้สมอตัวหนึ่งรับแรงเต็มที่ทั้งหมดอก 2 ตัว
ที่เหลือก็หย่อนตัวได้
6. ทุ่นจม (SINKERS)
ื่
ทุ่นจมนี้หากใช้ก็เพอประโยชน์ที่จะทำให้มุมดึงของสมอลดลง ซึ่งอาจจะเป็นรูปลูกบาศก์ หรือ
็
รูปแปดเหลี่ยมกได้ โดยธรรมชาติน้ำหนักของทุ่นจมนี้ จะต้องน้อยกว่าน้ำหนักของสมอเสมอ ปกติน้ำหนัก
ของทุ่นจมควรใช้เท่ากับ น้ำหนักของสมอในอากาศ ลบด้วยน้ำหนักของโซ่สมอในน้ำ และจะวางให้ห่าง
จากตัวสมออย่างน้อย 135 ฟุต สำหรับเครื่องยึดเรือน้ำลึก
7. ความยาวของโซ่
ความยาวของโซ่ที่ต้องการใช้ ขึ้นอยู่กับความลึกของกระแสน้ำ สำหรับเครื่องยึดแบบโทรศัพท์แล้ว กฎ
หัวแม่มือให้ไว้ว่า ความยาวของโซ่ที่ใช้ประมาณ 6 เท่าของความลึกระดับน้ำสูงสุดเฉลี่ย สำหรับเครื่องยึด
แบบโซ่ขึ้นลงได้ โซ่ที่ใช้สำหรับยึดจากทุ่นลอยไปยังห่วงหลัก จะใช้ความยาวเท่ากับ 3 เท่าของความลึกระดับ
น้ำสูงสุดเฉลี่ย และโซ่จากห่วงหลักถึงตัวสมอ จะต้องใช้อย่างน้อยที่สุด 135 ฟุต
8. ความแข็งแรงของโซ่
ความแข็งแรงของโซ่สมอ อย่างน้อยควรจะเป็น 3.2 เท่าของแรงที่จะกระทำต่อเครื่องยึดทั้งหมด