Page 60 - Way&Airfield
P. 60
4-15
สําหรับงานก่อสร้างหินถมคันทางชั้นปรับระดับและชั้นบนสุดจะต้องทําการบดทับ
ให้ได้ความแห้งสมํ่าเสมอ ไม่ตํ่ากว่าร้อยละ 95 ของความแน่นห้งสูงสุดที่ได้จาการทดลอง ตัวอย่างวัสดุตาม
ข้อ 5.1.2 เก็บจากหน้างานในสนาม หลังจากคลุกเคล้า และปูลงบนพื้นถนนแล้ว ตาม ทล.-ท. 108 “วิธีการ
ทดลอง Compaction Test แบบสูงกว่ามาตรฐาน”
การทดลองความแน่นของการบดทับชั้นปรับระดับ และชั้นบนสุด ให้ดําเนินการ
ทดสอบตาม ทล.-ล 603 “วิธีการทดลองหาค่าความแน่นของวัสดุ ในสนามโดยใช้ทราย” ทุกระยะ
ประมาณ 100 เมตร ต่อ 1 ช่องจราจร หรือประมาณพื้นที่ 700 ตารางเมตร ต่อ 1 หลุมตัวอย่าง
5.5 การวัดปริมาณงานและการจ่ายค่างาน
5.5.1 วิธีการวัดปริมาณงาน
การวัดและการคํานวณการปริมาณงานของงานหินถมคันทางนั้น ให้วัดปริมาณ
เป็นปริมาตร โดยวัดเนื้องานจากระดับก่อนที่จะทํางานถางป่า ขุดตอ และหาพื้นที่หน้าตัดด้วยวิธีคูณไขว้
และใช้วิธีเฉลี่ยพื้นที่หน้าตัดในการคํานวณหาปริมาตรของงานทรายถมคันทาง โดยใช้ระยะทางตาม
แนวศูนย์กลางทาง โดยทั่วไปให้ใช้พื้นที่หน้าตัดทุกระยะทาง 25 เมตร แต่หากเป็นงานในภูมิประเทศ
ภูเขาระยะทางอาจลดลงเป็น 12.50 เมตร หรือ 5.00 เมตร ตามดุลยพินิจของนายช่างผู้ควบคุมงาน ทั้งนี้
ให้หักปริมาตรส่วนที่ถูกแทนที่ด้วยท่อกลม ท่อเหลี่ยม และสิ่งสาธารณูปโภคต่าง ๆ ออก ปริมาณงานที่มี
หน่วยเป็นลูกบาศก์เมตร
5.5.2 วิธีการจ่ายค่างาน
การจ่ายค่างานตามรายการนี้ หมายรวมถึง ค่าวัสดุ ค่าเครื่องจักร ค่าแรงงาน และ
อื่น ๆ ที่จําเป็นเพื่อการก่อสร้างให้ถูกต้องเรียบร้อย ตามข้อกําหนด โดยคิดจ่ายค่างานตามผลงานที่แล้ว
เสร็จแต่ละงวด ในราคาต่อหน่วยตามสัญญา
6.งานวัสดุคัดเลือก( SELECTED MATERIAL )
6.1 งานวัสดุคัดเลือก ข. ( SELECTED MATERIAL B )
หมายถึง การก่อสร้างชั้นวัสดุคัดเลือก ข. บนชั้นดินถมคันทาง หรือชั้นอื่นใดที่ได้เตรียมไว้
แล้วด้วยวัสดุที่มีคุณภาพตามข้อกําหนด โดยการเกลี่ยแต่งและบดทับให้ได้แนวระดับ และรูปร่างตามที่
แสดงไว้ในแบบ
6.1.1 วัสดุ
วัสดุมวลรวม ( Soil Aggregate ) หรือทราย หรือวัสดุอื่นใดต้องเป็นวัสดุที่มีความ
คงทนปราศจากก้อนดินเหนียว และวัชพืชอื่น ๆ จากแหล่งที่ได้รับความเห็นชอบจาก นายช่างผู้ควบคุมงาน
แล้ว ส่วนที่จับตัวกันเป็นก้อน หรือยึดเกาะกันมีขนาดโตกว่า 50 มิลลิเมตร จะต้องกําจัดออกไป หรือทําให้
การแตกและผสมเข้าดวยกันให้มีลักษณะสมํ่าเสมอ