Page 65 - Way&Airfield
P. 65
4-20
6.2.1.5 มีค่าการขยายตัว
เมื่อทดลองตาม ทล.-ท. 109 “วิธีการทดลองหาค่า CBR” ไม่เกินร้อยละ 3
ที่ความแน่นแห้งของการบดอัดร้อยละ 95 ของความแน่นแห้งสูงสุดที่ได้จาการทดลองตาม ทล.-ท. 108
“วิธีการทดลอง Compaction Test แบบสูงกว่ามาตรฐาน”
6.2.1.6 กรณีใช้วัสดุจําพวก Shale
ต้องมีค่าเฉลี่ย Durability Index ของวัสดุทั้งชนิดเม็ดละเอียดและชนิด
เม็ดหยาบเมื่อทดลองตาม ทล.-ท. 206 “วิธีการทดลองหาค่า Durability ของวัสดุ”ไม่น้อยกว่าร้อยละ 30
6.2.1.7 กรณีใช้วัสดุจําพวก Non Plastic
ที่เมื่อทดลองตาม ทล.-ท. 205 “วิธีการทดลองหาขนาดเม็ดของวัสดุโดย
ผ่านตะแกรงแบบล้าง” มีส่วนผ่านตะแกรงขนาด 2.00 มิลลิเมตร เกินกว่าร้อยละ 90 และได้คุณภาพตามข้อ
(1) ถึง (6) แล้วหากนํามาใช้ทําวัสดุ คัดเลือก ก. จะต้องทําการบดทับให้ได้ความแน่นแห้งสมํ่าเสมอตลอด
ไม่ตํ่ากว่าร้อยละ 100 ของความแน่นแห้งสูงสุดที่ได้จากการทดลองตาม ทล.-ท. 108 “วิธีการทดลอง
Compaction Test แบบสูงกว่ามาตรฐาน”
6.2.2 เครื่องจักรและเครื่องมือ
ก่อนเริ่มงาน ผู้รับจ้างจะต้องเตรียมเครื่องจักรและเครื่องมือต่าง ๆ ที่จําเป็นจะต้อง
ใช้ในการดําเนินงานทางด้านวัสดุ และการก่อสร้างไว้ให้พร้อมที่หน้างาน ทั้งนี้ต้องเป็นแบบ ขนาด และอยู่
ในสภาพที่ใช้ได้อย่างมีประสิทธิภาพตามที่นายช่างผู้ควบคุมงานเห็นสมควร
6.2.3 วิธีการก่อสร้าง
6.2.3.1 การเตรียมการก่อนการก่อสร้าง
(1) การเตรียมวัสดุ
วัสดุจากแหล่งเมื่อผ่านการทดสอบคุณภาพว่า ใช้ได้แล้ว และ
เตรียมที่จะนํามาใช้ทําชั้นวัสดุคัดเลือก ก. หากไม่ได้นํามาลงบนชั้นวัสดุคัดเลือก ข. หรือชั้นอื่นใดที่ได้เตรียม
ไว้โดยตรงให้กองไว้เป็นกอง ๆ ในปริมาณที่พอสมควร บริเวณที่เตรียมไว้กองวัสดุจะต้องได้รับความ
เห็นชอบจากนายช่างผู้ควบคุมงานโดยปราศจากสิ่งไม่พึงประสงค์ต่าง ๆ
การตักวัสดุมวลรวม และการขนส่งวัสดุมวลรวมจะต้องกระทํา
ด้วยความระมัดระวังไม่ให้เกิดการแยกตัว ( Segregation ) ของส่วนหยาบและละเอียด ในกรณีที่วัสดุมวล
รวมซึ่งขนส่งไปเกิดการแยกตัวให้ทําการผสมใหม่ในสนาม ( Road-Mix )