Page 68 - Way&Airfield
P. 68
4-23
7.1 วัสดุ
วัสดุมวลรวมหรือวัสดุที่มีเม็ดแข็ง ทนทาน มีส่วนหยาบผสมกับส่วนละเอียดที่มีคุณสมบัติ
วัสดุที่มีเชื้อประสานที่ดี ปราศจากก้อนดินเหนียว และวัชพืชอื่น ๆ จากแหล่งที่ได้รับความเห็นจากนาย
ช่างผู้ควบคุมงานแล้ว ส่วนที่จับตัวกันเป็นก้อนแข็ง หรือยึดเกาะกันมีขนาดโตกว่า 50 มิลลิเมตร จะต้อง
กําจัดออกไปหรือทําให้แตก และผสมเข้าด้วยกันให้มีลักษณะสมํ่าเสมอ ในกรณีที่ไม่ได้ระบุคุณสมบัติ
ไว้เป็นอย่างอื่น วัสดุที่ใช้รองรับพื้นทางวัสดุมวลรวม จะต้องมีคุณสมบัติดังต่อไปนี้
7.1.1 มีค่าความสึกหรอ เมื่อทดลองตาม ทล.- ท. 202 “วิธีการทดลองหาค่าความ
สึกหรอของ Coarse Aggreate โดยใช้เครื่อง Los Angeles Abrasion” ไม่เกินร้อยละ 60
7.1.2 มีขนาดคละที่ดี เมื่อทดลองตาม ทล.-ท.205 “วิธีการทดลองหาขนาดเม็ดวัสดุ
โดยผ่านตะแกรงแบบล้าง” ต้องมีขนาดหนึ่งขนาดใดตามตารางที่ 4.1
7.1.3 มีค่า Liquid Limit เมื่อทดลองตาม ทล.-ท. 102 “วิธีการทดลองหาค่า Liquid
Limit ( L.L ) ของดิน” ไม่เกินร้อยละ 35
7.1.4 มีค่า Plasticity Index เมื่อทดลองตาม ทล.-ท. 10 “วิธีการทดลองหาค่า Plastic
Limit และ Plasticity Index” ไม่เกินร้อยละ 11
7.1.5 มีค่า CBR เมื่อทดลองตาม ทล.-ท. 109 “วิธีการทดลองหาค่า CBR” ไม่น้อย
กว่าร้อยละ 25 ที่มีความแน่นแห้งของการบดอัดร้อยละ 95 ของความแน่นแห้งสูงสุดที่ได้จากการทดลอง
ตาม ทล.-ท.108 “วิธีการทดลอง Compaction Test แบบสูงกว่ามาตรฐาน”
7.1.6 กรณีใช้วัสดุมากกว่า 1 ชนิดผสมกัน เพื่อให้ได้คุณภาพถูกต้องวัสดุแต่ละชนิด
จะต้องมีขนาดคละสมํ่าเสมอและเมื่อผสมกันแล้วจะต้องมีลักษณะสมํ่าเสมอและได้คุณภาพตามที่กําหนด
ทั้งนี้จะต้องรับข้ออนุญาตให้ใช้จากนายช่างผู้ควบคุมงานก่อน
ตารางที่ 4.1 ขนาดคละของรองพื้นทางวัสดุมวลรวม
ขนาดตะแกรง ปริมาณผ่านตะแกรง ร้อยละโดยมวล
มิลลิเมตร (นิ้ว) A B C D E
50 (2) 100 100 - - -
25.0 (1) - - 100 100 100
9.5 (3/8) 30-65 40-75 50-85 60-100 -
2.00 (เบอร์ 10) 15-40 20-45 25-50 40-70 40-100
0.425 (เบอร์ 40) 8-20 15-30 15-30 25-45 20-50
0.075 (เบอร์ 200) 2-8 5-20 5-15 5-20 6-20