Page 57 - Way&Airfield
P. 57
4-12
4.3.4 การวัดการทรุดตัวของคันทาง
กรณีต้องการหาอัตราการทรุดตัว และหาปริมาณการทรุดตัวของทรายถมคันทาง
ให้ดําเนินการติดตั้งแผ่นทรุดตัว ( Settlement Plate ) โดยดําเนินการตาม ทล.-ท. 101 “มาตรฐานการ
ติดตั้งแผ่นทรุดตัว”
4.3.5 การบํารุงรักษาและการปิดการจราจร
ในระหว่างการก่อสร้างเมื่อจําเป็นต้องเปิดการจราจรเป็นบางช่วงบางตอน ให้ใช้
วัสดุที่มีคุณสมบัติเหมาะสม เช่น วัสดุมวลรวม ปิดทับชั่วคราวเพื่อให้การจราจรผ่าน
4.4 การตรวจสอบ
4.4.1 การตรวจสอบค่าระดับ
งานทรายถมคันทางที่ก่อสร้างเสร็จเรียบร้อยแล้ว จะต้องมีรูปร่างราบเรียบตาม
แบบ โดยเมื่อทําการตรวจสอบด้วยบรรทัดตรง ยาว 3.00 เมตร ทั้งตามแนวขนานและตั้งฉากกับแนว
ศูนย์กลางทางมีความแตกต่างได้ไม่เกิน 10 มิลลิเมตร และมีค่าระดับแตกต่างไปจากค่าระดับที่แสดงไว้ใน
แบบได้ไม่เกิน 15 มิลลิเมตร การตรวจสอบค่าระดับให้ทําทุกระยะ 25 เมตร หรือน้อยกว่าตามที่นายช่าง
ผู้ควบคุมงานเห็นว่าสมควร ตอนใดที่ผิดไปจากนี้ให้แก้ไข โดยการปาดออกหรือรื้อแล้วก่อสร้างใหม่
4.4.2 การทดสอบความแน่นของเครื่องบดทับ
งานทรายถมคันทาง จะต้องทําการบดทับให้ได้ความแน่นแห้งสมํ่าเสมอตลอด
ไม่ตํ่ากว่าร้อยละ 95 ของความแน่นแห้งสูงสุดที่ได้จากการทดลอง Compaction Test แบบสูงกว่า
มาตรฐาน
การทดสอบความแน่นของการบดทับ ให้ดําเนินการทดสอบตาม ทล.-ท. 603
“วิธีการทดลองหาค่าความแน่นของวัสดุในสนามโดยใช้ทราย” ทุกระยะประมาณ 100 เมตร ต่อ 1 ช่อง
จราจร หรือประมาณพื้นที่ 700 ตารางเมตร ต่อ 1 หลุมตัวย่าง
4.5 การวัดปริมาณงานและการจ่ายค่างาน
4.5.1 วิธีการวัดปริมาณงาน
การวัดและการคํานวณหาปริมาณงานทรายถมคันทางนั้น ให้วัดปริมาณเป็น
ปริมาตร โดยวัดเนื้องานจากระดับก่อนที่จะทํางานถางป่า ขุดตอ หรือการเกลี่ยแต่งคันทางเดิม หรือการตัด
ลาดคันทางเดิมเป็นแบบขั้นบันไดเพื่อขยายคันทางและหาปริมาตรของงานทรายถมคันทาง โดยใช้
ระยะทางตามแนวศูนย์กลางทาง โดยทั่วไปให้ใช้พื้นที่หน้าตัดทุกระยะ 25 เมตร แต่ถ้าหากเป็นงานในภูมิ
ประเทศเป็นภูเขาหรือต้องการความละเอียดในการคํานวณมากขึ้นระยะทางอาจลดลงเป็น 12.50 เมตร
หรือ 5.00 เมตร ตามดุลยพินิจของนายช่างผู้ควบคุมงาน ทั้งนี้ให้หักปริมาตรส่วนที่ถูกแทนที่ด้วย ท่อกลม
ท่อเหลี่ยม และสิ่งสาธารณูปโภคต่าง ๆ ออก ปริมาณมีหน่วยเป็นลูกบาศก์เมตร