Page 53 - Way&Airfield
P. 53

4-8

               ผู้รับจ้างยังไม่ทําการก่อสร้างชั้นทางในชั้นถัดไป     ถ้าต้องการเปิดให้การจราจรผ่านในฤดูฝนควรใช้วัสดุที่มี

               คุณสมบัติเหมาะสมที่จะใช้ทําชั้นทางในชั้นถัดไป เช่น วัสดุมวลรวม ปิดทับหน้าไว้เพื่อป้องกันดินถมคันทาง

               เสียหาย ถูกทําลายเป็นร่องล้อและบวม  ค่าใช้จ่ายในการนี้ผู้รับจ้างต้องเป็นผู้รับผิดชอบทั้งสิ้น

                      3.4 การตรวจสอบ

                              3.4.1 การตรวจสอบค่าระดับงานดินถมคันทาง
                                     ที่ก่อสร้างเสร็จเรียบร้อยแล้วจะต้องมีรูปร่างเรียบตามแบบ  โดยเมื่อทําการตรวจ

               สอบด้วยบรรทัดตรง ยาว 3.00 เมตร ทั้งตามแนวขนานและตั้งฉากกับแนวศูนย์กลางทาง มีความแตกต่าง

               ได้ไม่เกิน 10 มิลลิเมตร        ถ้ามีค่าระดับแตกต่างไปจากค่าระดับที่แสดงไว้ในแบบได้ไม่เกิน 15 มิลลิเมตร

               การตรวจสอบค่าระดับให้ทําทุกระยะ 25 เมตร           หรือน้อยกว่าตามที่นายช่างผู้ควบคุมงานเห็นสมควร
               ตอนใดที่ผิดไปจากนี้ให้แก้ไข โดยการปาดออกหรือรื้อแล้วก็สร้างใหม่


                              3.4.2 การทดสอบความแน่นของการบดทับ
                                     งานดินถมคันทางจะต้องทําการบดทับ        ให้ได้ความแน่นแห้งสมํ่าเสมอตลอด

               ไม่น้อยกว่า 1.44 กรัมต่อมิลลิเมตร และไม่ตํ่ากว่าร้อยละ 95 ของความแน่นแห้งสูงสุดที่ได้จากการทดลอง

               ตัวอย่างดินเก็บจากหน้าดินในสนาม หลังจากคลุกเคล้า ผสมและปูลงบนถนนแล้วตาม ทล.-ท. 107 “

               วิธีการทดลอง Compaction  Test แบบมาตรฐาน ”
                                     การทดสอบความแน่นของการบดทับ  ให้ดําเนินการทดสอบตาม  ทล.-ท. 603 “

               วิธีการทดลองหาค่าความแน่นของวัสดุในสนามโดยใช้ทราย ” ทุกระยะประมาณ 100 เมตรต่อ 1 ช่อง

               จราจร หรือประมาณพื้นที่ 700 ตารางเมตร ต่อ  1 หลุมตัวอย่าง

                      3.5 การวัดปริมาณงานและการจ่ายค่างาน


                              3.5.1 วิธีการวัดปริมาณงาน
                                     การวัดและการคํานวณหาปริมาณงานของงานดินถมคันทางนั้น      ให้วัดปริมาณ

               เป็นปริมาตร โดยวัดเนื้องานจากระดับก่อนที่จะทํางานถางป่า ขุดตอ หรือการเกลี่ยแต่งคันทางเดิม หรือการ

               ตัดลาดคันทางเดิมเป็นแบบขั้นบันไดเพื่อขยายคันทางและหาพื้นที่หน้าตัดด้วยวิธีคูณไขว้     และใช้วิธีเฉลี่ย
               พื้นที่หน้าตัดในการคํานวณหาปริมาตรของงานดินถมคันทาง   โดยใช้ระยะทางตามแนวศูนย์กลางทาง

               โดยทั่วไปให้ใช้พื้นที่หน้าตัดทุกระยะ 25 เมตร     แต่หากเป็นงานในภูมิประเทศเป็นภูเขา        หรือต้องการ

               ความละเอียดในการคํานวณมากขึ้นระยะทางอาจลดลงเป็น 12.50 เมตร หรือ 5.00 เมตร         ตามดุลย

               พินิจของนายช่างผู้ควบคุมงานทั้งนี้ให้หักปริมาตรส่วนที่ถูกแทนที่ด้วยท่อกลม ท่อเหลี่ยม         และสิ่ง

               สาธารณูปโภคต่าง ๆ ออก ปริมาณงานมีหน่วยเป็นลูกบาศก์เมตร
                                     กรณีงานดินถมคันทางแทนที่งานขุดบริเวณดินอ่อน      ให้คํานวณจากความ

                      กว้าง

               ยาวและลึกตามที่ทําการก่อสร้าง

                              3.5.2 วิธีการจ่ายค่างาน
   48   49   50   51   52   53   54   55   56   57   58