Page 50 - Way&Airfield
P. 50

4-5

                              2.5.1 วิธีการวัดปริมาณงาน

                                     การวัดและการคํานวณหาปริมาณตัดคันทาง              ให้วัดปริมาณเป็นปริมาตร
               ( Volume )    โดยวัดเนื้องานจากระดับก่อนที่ทํางานถางป่า ขุดตอ       และหาพื้นที่หน้าตัดด้วยวิธีคูณไขว้

               (Co - Ordinate  Method) และใช้วิธีเฉลี่ยพื้นที่หน้าตัด ( Average End Area Method ) ในการคํานวณหา

               ปริมาตร ของงานตัดคันทาง โดยใช้ระยะทางตามแนวศูนย์กลางทาง    โดยทั่วไปให้ใช้พื้นที่หน้าตัดทุกระยะ

               25 เมตร แต่หากเป็นงานในภูมิประเทศภูเขา     หรือต้องการความละเอียดในการคํานวณมากขึ้น ระยะทาง

               อาจลดลงเป็น 12.50 เมตร หรือ 5.00 เมตร ตามดุลยพินิจของนายช่างผู้ควบคุมงาน     ปริมาณงานมี
               หน่วยเป็นลูกบาศก์เมตร


                              2.5.2 วิธีการจ่ายค่างาน
                                     การจ่ายค่างานตามรายการนี้ หมายรวมถึงค่าเครื่องจักร ค่าแรงงาน และอื่น ๆ ที่

               จําเป็นเพื่อการก่อสร้างให้ถูกต้องเรียบร้อย ตามข้อกําหนดโดยคิดจ่ายค่างานที่แล้วเสร็จแต่ละงวด  ในราคา

               ต่อหน่วยตามสัญญา

               3. งานดินถมคันทาง   (EARTH EMBANKMENT )

                         หมายถึง  การก่อสร้างถมคันทาง และการตัดลาดคันทางเดิมเป็นแบบขั้นบันได (Benching) เพื่อ

               ถมขยายคันทาง  รวมทั้งการกลบแต่งหลุมบ่อต่าง ๆ ที่ไม่ได้ระบุเป็นงานรายการอื่น   โดยการจัดหาดิน

               หรือวัสดุอื่นใด ที่มีคุณภาพถูกต้องตามข้อกําหนดจากแหล่งที่ได้รับความเห็นชอบแล้วมาถมเป็นคันทาง
               โดยการเกลี่ยแต่งและบดทับให้ได้แนวระดับ และรูปร่างตามที่แสดงไว้ในแบบ


                      3.1 วัสดุ
                              ดินหรือวัสดุอื่นใด ต้องเป็นวัสดุที่ปราศจากหน้าดิน  และวัชพืช จากแหล่งที่ได้รับความเห็น

               ชอบจากนายช่างผู้ควบคุมงานแล้ว  ส่วนที่จับตัวกันเป็นก่อน     หรือยึดเกาะกันมีขนาดโตกว่า 50

               มิลลิเมตร จะต้องกําจัดออกไปหรือทําให้แตกและผสมเข้าด้วยกันให้มีลักษณะสมํ่าเสมอ

                              ในกรณีที่ไม่ได้ระบุคุณสมบัติไว้เป็นอย่างอื่น  วัสดุที่ใช้ทําชั้นดินถมคันทาง            จะต้อง

                      มี
               คุณสมบัติดังต่อไปนี้

                              3.1.1 มีค่า CBR เมื่อทดลองตาม ทล.-ท.109 “ วิธีการทดลองหาค่า CBR ” ไม่น้อยกว่า

               ที่กําหนดไว้ในแบบ ที่ความแน่นแห้งของการบดอัดร้อยละ 95 ของความแน่นแห้งสูงสุดที่ได้จากการทดลอง

               ตาม ทล.-ท. 107 “ วิธีการทดลอง Compaction Test แบบมาตรฐาน ”

                              3.1.2 มีค่าการขยายตัว เมื่อทดลองตาม ทล.-ท. 109      “ วิธีการทดลองหาค่า CBR “
               ไม่เกินร้อยละ 4 ที่ความแน่นแห้งของการบดอัดร้อยละ 95 ของความแน่นแห้งสูงสุด    ที่ได้จากการทดลอง

               ตาม ทล.-ท. 107 “ วิธีการทดลอง Compaction Test แบบมาตรฐาน ”



                      3.2 เครื่องจักรและเครื่องมือ
   45   46   47   48   49   50   51   52   53   54   55