Page 51 - Way&Airfield
P. 51
4-6
ก่อนเริ่มงานผู้รับจ้างจะต้องเตรียมเครื่องจักร และเครื่องมือต่าง ๆ ที่จําเป็นต้องใช้ในการ
ดําเนินงานทางด้านวัสดุและการก่อสร้างไว้ให้พร้อมที่หน้างาน ทั้งนี้ต้องเป็น แบบ ขนาด และอยู่ในสภาพที่
ใช้ได้อย่างมีประสิทธิภาพตามที่นายช่างผู้ควบคุมงานเห็นสมควร
3.3 วิธีการก่อสร้าง
3.3.1 การเตรียมการก่อนการก่อสร้าง
3.3.3.1 การเตรียมวัสดุ
ดินจากแหล่งอื่นผ่านการทดสอบคุณภาพว่าใช้ได้แล้ว และเตรียมที่จะ
นํามาใช้งานชั้นดินถมคันทางหากไม่ได้นํามาลงบนดินเดิมหรือคันทางที่ได้เตรียมไว้โดยตรง ( Stockpile )
ให้เป็นกอง ๆ ปริมาณที่พอสมควร
บริเวณที่เตรียมไว้กองวัสดุ จะต้องได้รับความเห็นชอบจากนายช่าง
ผู้ควบคุมงาน โดยปราศจากสิ่งที่ไม่พึงประสงค์ต่าง ๆ
3.3.3.2 การเตรียมพื้นที่ก่อสร้าง ก่อนเริ่มงานดินถมคันทาง
ผู้รับจ้างจะต้องเตรียมพร้อมในด้านต่าง ๆ เช่น เครื่องจักร และเครื่องมือ
ในการทํางานและเครื่องหมายควบคุมการจราจรที่เกี่ยวกับการก่อสร้าง ทั้งนี้จะต้องได้รับความเห็นชอบจาก
นายช่างผู้ควบคุมงานแล้ว
ผู้รับจ้างจะต้องเกลี่ยและกลบแต่งหลุมบ่อที่มีอยู่เดิม หรือส่วนที่เกิด
จาก
การถางป่าและการขุดตอ แล้วบดทับให้แน่นและเรียบร้อย ก่อนที่จะเริ่มงานดินถมคันทาง
ดินเดิม หรือลาดคันทางของถนนเดิม ซึ่งอยู่ตํ่ากว่าระดับคันทางที่จะทํา
การก่อสร้างใหม่น้อยกว่า 1 เมตร ตามแบบ หลังจากกําจัดสิ่งไม่พึงประสงค์ต่าง ๆ ออกหมดแล้ว หรือ
หลังจากไถ่คราดผิวทางเดิมแล้ว จะต้องทําการบดทับชั้น 150 มิลลิเมตร สุดท้าย วัดจากระดับดินเดิมหรือ
ผิวถนนเดิมลงไปให้ได้ความแน่นแห้งของการบดทับไม่น้อยกว่าร้อยละ 95 ของความแน่นแห้งสูงสุด ที่
ได้จากการทดลอง ตาม ทล.-ท. 107 “ วิธีการทดลอง Compaction Test แบบมาตรฐาน ”
ถ้ามิได้กําหนดไว้ในแบบเป็นอย่างอื่น ทางเดิมที่ยังไม่มีผิวถาวร
และ
ต้องการจะถมคันทางให้สูงขึ้นอีกไม่เกิน 300 มิลลิเมตร จะต้องไถคราดผิวทางเดิมไม่น้อยกว่า
150 มิลลิเมตร และบดทับรวมไปพร้อมกับชั้นใหม่ของชั้นดินถมคันทางนั้น ความหนาของชั้นที่ไถคราด
รวมกับวัสดุใหม่จะต้องไม่เกินความหนาแต่ละชั้นที่กําหนดไว้ตามข้อ 3.3.3
ในกรณีที่จะก่อสร้างคันทางตามลาดเชิงเขา หรือจะทําการก่อสร้างขยาย
คันทางใหม่บนคันทางเดิม ให้ตัดลาดเชิงเขา หรือลาดคันทางเดิมเป็นแบบขั้นบันได จากปลายเชิงลาด
จนถึงขอบไหล่ทาง ให้เกลี่ยแผ่วัสดุสมํ่าเสมอในแนวราบ มีความกว้างพอที่เครื่องมือบดทับที่