Page 52 - TeachingSkill
P. 52
7 -5
7.7 รายละเอียดอื่น ๆ รายละเอียดเล็ก ๆ น้อย ๆ ที่นอกเหนือไปจาก 6 ประการข้างต้น ยิ่ง
ศึกษาได้มากเท่าใดก็ยิ่งเป็นกําไรของผู้พูดมากขึ้นเท่านั้น เช่น เรื่องศาสนา ขนบธรรมเนียมประเพณี
ลําดับรายการ โอกาสและเวลาลักษณะของที่ประชุม ชื่อสถาบันกลุ่มผลประโยชน์ พรรคการเมือง
ทัศนคติของผู้ฟังต่อเรื่อง ทัศนคติของผู้ฟังต่อผู้พูด กําหนดเวลาที่ใช้ในการพูดแต่ละครั้ง ฯลฯ
8. ข้อปฏิบัติเบื้องต้นสําหรับการฝึกพูด
การพูดต่อที่ชุมนุมชน เป็นงานยากสําหรับผู้เริ่มต้นใหม่ ๆ ทุกอย่างเต็มไปด้วยกฎเกณฑ์และข้อ
ควรระวัง เพื่อไม่ให้ยุ่งยากสับสนเกินไป ข้อแนะนําต่อไปนี้อาจช่วยให้การเริ่มต้นเป็นผู้พูดที่ดีง่ายขึ้น และ
ประสบความสําเร็จเร็วขึ้น
8.1 การเตรียมพูด
8.2 สูดลมหายใจลึก 2 - 3 ครั้ง จะลดความประหม่า
8.3 ทักทายผู้ฟังให้ถูกต้อง
8.4 ตามองผู้ฟัง
8.5 เสียงดังฟังชัด
8.6 ติดขัดอย่างไรยิ้มไว้ก่อน
8.7 มือไม้อย่าวุ่น
8.8 ขอบคุณควรงด (ขึ้นต้น - และมักจะขอบคุณ)
8.9 อย่าจดทุกคํา
8.10 จําเรื่องขึ้นต้น และเรื่องที่จะลงท้าย (จบ)
9. ข้อปฏิบัติก่อนขึ้นพูด
9.1 สํารวจการแต่งกาย อยู่ในสภาพเรียบร้อย
9.2 ทบทวนประโยคขึ้นต้น หัวข้อในการดําเนินเรื่อง และประโยคลงท้าย
9.3 เก็บบทพูดไว้ อย่าถือหรือหอบเป็นแฟ้มโต ๆ
9.4 ซักซ้อมว่าจะทักที่ประชุมอย่างไร
9.5 ดื่มนํ้าเย็น สูดลมหายใจลึก ๆ เพื่อลดการประหม่าเวลา หรือตื่นเวที
10. ข้อปฏิบัติในขณะพูด
10.1 เดินอย่างสง่าผ่าเผยไปที่เวที
10.2 ไม่โค้งคํานับ หรือทําความเคารพใครทั้งนั้นจนกว่าจะถึงที่พูด จําไว้ว่า"นักพูด ไม่ใช่
นักมวย" ที่จะโค้งรอบเวทีทั้ง 4 ทิศ
10.3 เมื่อถึงที่พูด โค้งประธาน หรือพิธีกร และหันมาปฏิสันฐาน ผู้ฟัง
10.4 อย่าแสดงอาการล้วงแคะแกะเกา ในขณะที่พูด
10.5 ควรยืนเท้าห่างกันพอสมควร ทิ้งนํ้าหนักลงบนเท้าทั้งสอง อย่างแกว่งเท้าและอย่าถอย
หน้าถอยหลังตลอดเวลาพูด
10.6 ถ้าติดขัด อย่าตกใจ ยิ้มไว้ก่อน