Page 48 - TeachingSkill
P. 48
7 -1
บทที่ 7
ศิลปการพูดต่อที่ชุมชน
ใครคนหนึ่งกล่าวว่า " ไม่ว่าท่านจะอยู่ที่ไหน ไม่ว่าท่านจะทําอะไร ท่านจะเป็นนักธุรกิจ
นายแพทย์ ทนายความ ผู้พิพากษา ครูอาจารย์ นักบริหาร นายทหาร นายตํารวจ นักการเมืองหรือ
ผู้แทนราษฎร ท่านต้องอาศัยการพูดเป็นส่วนประกอบสําคัญในขณะปฏิบัติงาน ในโลกนี้มีเพียง 2 อาชีพ
เท่านั้นที่ไม่ต้องอาศัยการพูดเลยในขณะปฏิบัติงาน คือ หนึ่งประดานํ้า และสองคนเป่าแตร..................
ทุกคนเกิดมาแล้วไม่เป็นใบ้ ย่อมจะพูดได้และมีเพียง 2 ประเภท คือ พูดได้และพูดเป็น
การพูด คือ ศิลป + ศาสตร์
SPEAKING = ART + SCIENCE
ครึ่งหนึ่งของการพูดเป็น ศิลป อีกครึ่งหนึ่งของการพูดเป็น ศาสตร์ ศิลป (ในการพูด) เป็น
ความสามารถพิเศษเฉพาะตัว จะถ่ายทอดลอกเลียนแบบกันไม่ได้ งานเลียนแบบใด ๆ แม้จะทําได้
งดงามกว่า ก็ไม่มีคุณค่าทาง "ศิลป"
"ศาสตร์" นั้นเป็นวิชาการที่มีกฎเกณฑ์ถ่ายทอด ฝึกฝน ปฏิบัติและพิสูจน์ได้ จึงสามารถเรียนได้ตาม
ขั้นตอนที่วางไว้
1. หนทางที่จะเป็นผู้พูดที่ดี มีอยู่วิธีเดียวเท่านั้น คือ ต้องทํา 2 อย่างพร้อม ๆ กัน คือ.-
1.1 ศึกษา (STUDY)
1.2 ฝึกฝน (PRACTICE)
2. ได้พบว่ามีบุคคลอยู่ 3 ประเภท ที่ต้องได้รับการฝึกพูดใหม่โดยเร่งด่วน ก่อนที่จะทําความ
เสียหายให้แก่ตนเอง และสังคมต่อไป คือ.-
2.1 พูดน้อยเกินไป
2.2 พูดมากเกินไป
2.3 พูดปากเสีย
3. การพูด คือ การสื่อสาร (COMMUNICATION) ความคิด (IDEA) จากผู้พูด (SPEAKER) ไปยัง
ผู้ฟัง (LISTENER) โดยมีเสียง (VOICE) ภาษา (LANGUAGE) และอากัปกิริยา (GESTURE) เป็นสื่อ
ดังนั้นองค์ประกอบที่สําคัญของผู้พูด มี 6 ประการ คือ.-
3.1 ผู้พูด
3.2 ผู้ฟัง
3.3 ความคิด
3.4 เสียง
3.5 ภาษา
3.6 อากัปกิริยาท่าทาง