Page 49 - TeachingSkill
P. 49
7 -2
4. แบบทั่วไปของการพูด (GENERAL TYPES OF SPEECH)
4.1 แบบจูงใจ (PERSUASIVE SPEECH) เพื่อเร้าอารมณ์ (EMOTION AROUSING) ให้เกิด
ความสนใจ คล้อยตามและปฏิบัติตาม
4.2 แบบให้ข้อเท็จจริง (INSTRUCTIVE SPEECH) เพื่อก่อให้เกิดความเข้าใจ
(UNDERSTANDING) ถ่ายทอดข้อเท็จจริง และข่าวสารที่ถูกต้องแก่ผู้ฟัง
4.3 แบบบันเทิง (RECREATIVE SPEECH) เพื่อให้เกิดความสนุกสนาน
(ENTERTAINMENT) ผ่อนคลายบรรยากาศ ก่อให้เกิดมิตรภาพและความเป็นกันเอง
5. จุดมุ่งหมายของการพูด (GENERAL ENDS OF SPEECH PURPOSE)
เราอาจมองแบบของการพูดได้อีกแง่หนึ่ง โดยดูที่จุดมุ่งหมายของการพูดซึ่งมีอยู่ 5 อย่าง และแยก
ออกมาจากการพูดทั้ง 3 แบบ ที่กล่าวมาแล้วนั่นเอง จุดมุ่งหมายทั้ง 5 ประการ คือ .-
5.1 เพื่อเร้าใจ
5.2 เพื่อโน้มน้าว
5.3 เพื่อเร่งรัด
5.4 เพื่อบอกเล่า
5.5 เพื่อความบันเทิง
ในการพูดทุกครั้ง ผู้พูดต้องกําหนดจุดมุ่งหมายให้ชัดเจนเสียก่อน เช่นเดียวกับกัปตันเรือกําหนด
เส้นทางโดยอาศัยเข็มทิศ แล้วดําเนินการไปตามนั้น โอกาสที่จะประสบความสําเร็จก็จะมีมากกว่า การพูด
ที่ไม่มีจุดมุ่งหมายปลายทาง
6. แบบวิธีในการพูด (METHODS OF SPEAKING)
วิธีการพูดต่อที่ชุมนุมชนใช้กันอยู่ทุกวันนี้ แบ่งเป็นวิธีที่สําคัญ ๆ 4 วิธีคือ
6.1 ท่องจํามาพูด (MEMORIZED SPEECH) เหมาะสําหรับการกล่าวสั้น ๆ ในโอกาสพิเศษ
ที่ต้องเตรียมตัวอย่างดี เพื่อให้คําพูดนั้นสละสลวยไพเราะ เพราะพริ้ง
6.2 อ่านจากร่าง (READING THE SPEECH OR MENU - SCRIPTED) ใช้ต้นฉบับที่จดมา
พูดทุกคําพูด ยืน หรือนั่งอ่านโดยตลอด ไม่มีการดัดแปลงตัดต่อเพิ่มเติมเลยแม้แต่น้อย วิธีนี้เหมาะสําหรับ
การกล่าวปราศรัยในพิธีการ หรือการอ่านข้อความสําคัญ ที่ไม่ประสงค์ให้ผิดพลาดเลยเท่านั้น
6.3 พูดไปนึกไป หรือจดแต่หัวข้อ (EXTEMPORE SPEECH)
วิธีนี้ดูจะเป็นวิธีดีที่สุดและเหมาะสมที่สุดในการพูดเกือบทุกโอกาสเป็นวิธีที่นักพูดชั้นดีทุก
คนใช้กัน
การจดเฉพาะหัวข้อจะทําให้เรื่องราวมีระเบียบไม่สับสน และยังยืดหยุ่นได้ตามความต้องการ
ข้อสําคัญผู้พูดต้องรู้เรื่องตามหัวข้อที่จะพูด