Page 218 - เครื่องมือช่างชั้นต้น
P. 218
13-2
13.4 หลักปฏิบัติ 7 ประการในการใช้สิ่งชี้บอกการปรนนิบัติบํารุง
13.4.1 ต้องเตรียมการล่วงหน้า เป็นที่เชื่อได้แน่นอนว่า ผู้บังคับบัญชาจะสามารถใช้สิ่งชี้บอกการ
ปรนนิบัติบํารุง โดยมิได้รับคําแนะนําล่างหน้ามาก่อนไม่ได้ ดังนั้น ผู้บังคับบัญชาจึงควรได้รับการปฐมนิเทศ
(ORIENTATION) จากเจ้าหน้าที่เทคนิคของตนก่อน โดยใช้สิ่งชี้บอกการปรนนิบัติบํารุงเป็นแนวทาง ดังนั้น
จะเห็นว่า สิ่งชี้บอกการปรนนิบัติบํารุง ก็คือ เครื่องช่วยความจําก่อนทําการตรวจที่จะปฏิบัตินั่นเอง
13.4.2 หาแนวทางในการตรวจ โดยจะเริ่มจากการดูสถิติ (ตรวจทางธุรการ) หรือดูที่ตัวยุทโธปกรณ์
13.4.3 สิ่งชี้บอกมีมากมายหลายอย่าง แนวทางจะนําไปตรวจแต่ละครั้ง ให้ตั้งความมุ่งหมายไป
ก่อนว่าจะเพ่งเล็งในเรื่องอะไร แล้วกําหนดจุดตรวจขึ้น 2 - 3 จุด ไม่จําเป็นจะต้องใช้สิ่งชี้บอกทุกอันต่อ
ยุทโธปกรณ์ประเภทใดประเภทหนึ่ง โดยเฉพาะ ตัวอย่างเช่น สมมุติว่าท่านเป็นผู้บังคับการกรม หรือหัวหน้า
กอง จะทําการตรวจกองร้อย ช.สนาม ท่านอาจจะเลือกยุทโธปกรณ์มา 1 หรือ 2 อย่าง แล้วตรวจสิ่งชี้บอก
ทุกจุดตามที่กําหนดไว้ในคู่มือของยุทโธปกรณ์หนึ่ง หรือท่านอาจตรวจยุทโธปกรณ์ให้มากอย่าง แต่ควร
ตรวจเฉพาะสิ่งชี้บอกเพียงหนึ่งหรือสองจุดเท่านั้นจะเห็นได้ว่า สิ่งชี้บอกการปรนนิบัติบํารุงนั้น ใช้ได้หลายวิธี
ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับโอกาสและเวลาที่ผู้บังคับบัญชามีอยู่
13.4.4 ในการตรวจไม่มีข้อกําหนดแน่นอนจะต้องตรวจสิ่งชี้บอก สําหรับจุดนั้นโดยเฉพาะเจาะจง
ของแต่ละยุทโธปกรณ์ อาจจะเลือกตรวจอะไรก็ได้ สิ่งชี้บอกการปรนนิบัติบํารุงเป็นรายละเอียด และเฉพาะ
บางจุดของยุทโธปกรณ์และส่วนประกอบ ผู้บังคับบัญชาจะต้องแน่ใจว่าตนมีความรู้ในสิ่งที่ตนกําลังปฏิบัติ
อย่างจริงจัง และถ้าตนสามารถตรวจได้น้อยจุด โดยตลอดด้วยความมั่นใจแล้วจะทําให้เกิดผลดีมากกว่า
การตรวจจํานวนมาก ๆ จุด โดยตรวจไปอย่างลวก ๆ
13.4.5 ให้หลีกเลี่ยงการตรวจอย่างละเอียดละออจนเกินขอบเขต ผู้บังคับบัญชาควรหลีกเลี่ยงการ
ใช้สิ่งชี้บอกที่เป็นแบบเดียวกันอยู่ตลอดเวลา เมื่อผู้บังคับบัญชาคุ้นเคยกับยุทโธปกรณ์บางแบบดีแล้ว
อาจขยายรายการจุดตรวจที่สําคัญ ๆ สําหรับยุทโธปกรณ์แต่ละชนิดออกไปได้อีกแต่อย่าขยายออกไปจน
เป็นรายการหยุมหยิมเกินความจําเป็น
13.4.6 ปัจจัยสําคัญที่สุดของสิ่งชี้บอกของสถานภาพการปรนนิบัติบํารุง คือ สถานภาพการทํางาน
ของยุทโธปกรณ์ สังเกตยุทโธปกรณ์ทํางานได้ผลตามความมุ่งหมาย สิ่งสําคัญที่สุดในการแสดงสถานภาพ
ของยุทโธปกรณ์ ได้แก่ สภาพการทํางานของยุทโธปกรณ์ ผู้บังคับบัญชาที่ทําการตรวจจะต้องพิจารณา
ประสิทธิภาพการทํางานของยุทโธปกรณ์ว่าทํางานได้ถูกต้องตามที่ได้รับการออกแบบมาหรือไม่ โอกาสที่ทํา
ได้ สิ่งนี้เป็นสิ่งชี้ให้เห็นถึงความเอาใจใส่ของผู้ใช้หรือพลประจําด้วย มีอยู่หลายโอกาสที่ยุทโธปกรณ์นั้นมอง
ดูดี (LOOK GOOD) หรือมีสภาพดี (GOOD CONDITION) แต่ใช้งานไม่ได้ อย่างไรก็ดี ถึงแม้ว่า
ยุทโธปกรณ์จะทํางานได้ดีก็มิได้หมายความว่า จะไม่มีข้อบกพร่องอื่นได้อีก การตรวจโดยใช้สิ่งบอกการ
ปรนนิบัติบํารุงต่อไปอีกจะช่วยให้เกิดความมั่นใจในสภาพของยุทโธปกรณ์ และช่วยให้พบข้อบกพร่องต่าง ๆ
แต่ไม่มีผลต่อการทํางานของยุทโธปกรณ์ในขณะนั้น