Page 220 - เครื่องมือช่างชั้นต้น
P. 220

13-4



                      13.5.2  เอกสารและสิ่งพิมพ์ต่าง ๆ การมีเอกสารทางการซ่อมอยู่ตามจํานวนที่ได้รับอนุมัติ เป็นสิ่งชี้

               ถึงประสิทธิภาพในการซ่อมบํารุงอีกประการหนึ่ง ในแง่นี้ก็เช่นเดียวกับ ข้อ. 5.1 ผู้บังคับบัญชาอาจทราบว่า
               หน่วยควรมีคู่มือการใช้ คู่มือการปรนนิบัติบํารุง, คู่มือทางเทคนิค และคู่มือส่งกําลังเรื่องอะไร และหมายเลข

               ใดบ้าง จึงควรต้องใช้เทคนิคของ “สิ่งชี้บอก” โดยเลือกคู่มือเล่มใดเล่มหนึ่งขึ้นมาทําการศึกษาเรื่อง

               ชื่อหมายเลข และจํานวนที่ได้รับอนุมัติให้มีไว้ ต่อจากนั้นจึงทําการตรวจตามจุดที่ได้เลือกไว้ และไม่ควร

               ตรวจเฉพาะว่ามีหรือไม่ ควรตรวจว่าได้มีการนําไปใช้หรือไม่ด้วย ผู้บังคับบัญชาควรจะเลือกเอกสารซึ่ง

               หน่วยนั้นไม่ได้อนุมัติให้มีไว้และทําการตรวจด้วย
                      13.5.3  เครื่องมือ การปฏิบัติผิด ๆ ต่อเครื่องมือโดยทั่ว ๆ ไป ทุก ๆ หน่วยส่วนใหญ่จะมีเครื่องมือ

               ทั้งของประจําตัวช่าง และประจําหน่วยมากมายหลายอย่างในอัตรา ผู้บังคับบัญชาอาจศึกษารายละเอียด

               และการใช้เครื่องมือ ซึ่งไม่ได้อยู่ในอัตราของหน่วย แต่หน่วยมีไว้ในครอบครองด้วย ยุทโธปกรณ์ตามปกติ

               มักจะชํารุดเนื่องจากใช้เครื่องมือไม่ถูกต้องตามที่กําหนดไว้ให้ใช้ นอกจากนี้ยังอาจเป็นไปได้  หน่วยมี
               เครื่องมือที่ไม่มีอัตราอยู่ในครอบครอง ซึ่งอาจเป็นเหตุให้หน่วยที่ต้องการทําการซ่อมบํารุงชั้นสูงต้องชะงักงัน

               ไปเนื่องจากขาดเครื่องมือปรนนิบัติบํารุง และซ่อมบํารุง

                      13.5.4  การปฏิบัติการซ่อมบํารุง ขีดความสามารถของช่างซ่อมทําการตรวจ หรือซ่อมตามที่ได้รับ

               มอบหมายอย่างมีประสิทธิภาพนั้น เป็นสิ่งชี้อย่างดีเลิศถึงสถานการณ์ซ่อมบํารุงและการฝึกอบรมช่าง
               โดยปกติผู้บังคับบัญชาอาจไม่มีความรู้ในการปฏิบัติงานทางเทคนิคเท่ากับผู้ช่วยช่างด้วยซํ้าไป แต่

               ผู้บังคับบัญชาอาจเลือกการปฏิบัติทางเทคนิคอย่างใดอย่างหนึ่งมาศึกษาว่าจะปฏิบัติกันอย่างไร และ

               ประมาณเวลาซึ่งควรจะปฏิบัติ จากนั้นผู้บังคับบัญชาอาจเลือกช่างคนใดคนหนึ่งมาปฏิบัติให้ดู แล้วเลือกวิธี

               ปฏิบัติวิธีใด       วิธีหนึ่ง ซึ่งอาจทําการตรวจสอบไปได้ในคราวเดียวกัน เกี่ยวกับเครื่องมือประจําตัวของช่าง

               หรือเครื่องมือประจําหน่วยมีใช้หรือไม่ ในการปฏิบัติการซ่อมบํารุงนั้น ถ้ามีการใช้ชิ้นส่วนก็จะได้ดูถึงการ
               ควบคุมชิ้นส่วนด้วย นอกจากการตรวจการปฏิบัติการซ่อมบํารุงก็ควรตรวจการดําเนินงานของโรงซ่อม เช่น

               ดูการมอบหมายงานให้ช่างซ่อมว่าใช้ระบบการจัดการต่าง ๆ อย่างมี  ประสิทธิภาพหรือไม่ และช่างซ่อมที่มี

               ฝีมือดีได้คอยช่วยเหลือแนะนําช่าง ซึ่งมีฝีมือตํ่ากว่าหรือไม่
                      อย่างไรก็ตาม ผู้บังคับหน่วยพึงระลึกนึกถึงเกี่ยวกับการซ่อมบํารุงไว้เสมอว่า

                      “การปรนนิบัติบํารุงไม่ดี อาจทําให้แพ้สงครามตั้งแต่ยังมิได้เผชิญกับข้าศึกเลย”

                      “งานที่ยากนั้นคืองานเล็ก ๆ น้อย ๆ ซึ่งสะสมไว้โดยไม่ทําเสียก่อนเมื่อมีโอกาสที่จะทําได้”

                      “การละเลยเพียงเล็กน้อย ย่อมก่อให้เกิดความเสียหายอย่างใหญ่หลวง”
                      “จงพยายามทํางาน อย่า ให้งานมาบังคับให้เราต้องทํา”

               13.6 ความสําคัญของการปรนนิบัติบํารุง

                      13.6.1 การปรนนิบัติบํารุง เป็นเสมือนหัวใจ และวิญญาณของการซ่อมบํารุงทั้งระบบ

                      13.6.2 การปรนนิบัติบํารุงอย่างสมบูรณ์ สมํ่าเสมอ เคร่งครัด ทําให้เครื่องมืออยู่ในสภาพใช้งานได้
               ตลอดเวลาอย่างมีประสิทธิภาพและได้ประสิทธิผล
   215   216   217   218   219   220   221   222   223   224   225