Page 223 - เครื่องมือช่างชั้นต้น
P. 223
14-2
I = INSPECTION คือ การตรวจสอบสิ่งบกพร่อง, จุดต่าง ๆ ของเครื่องมือช่าง ซึ่งเป็นการ
ตรวจสอบค่อนข้างละเอียด ตามจุดต่าง ๆ หรือจุดที่เห็นว่าบกพร่อง ทํางานไม่สมบูรณ์ บางครั้งอาจต้องใช้
เครื่องมือและอุปกรณ์ในการตรวจสอบตัวอย่าง เช่น
1. เครื่องยนต์ เร่งไม่ขึ้น เบาไม่ได้ อุณหภูมิของนํ้าที่ใช้ระบายความร้อนสูงเกินไป ความดัน
นํ้ามันเครื่องตํ่า เป็นต้น
2. ไฟฟ้า ไม่ประจุ หรือแบตเตอรี่เก็บไฟไม่อยู่ สายพานมีเสียงดัง
3. เข้าเกียร์ไม่ได้ หรือเข้าเกียร์แล้วรถไม่เคลื่อนที่
4. ปั้มไฮดรอลิก มีเสียงดังผิดปกติ อุณหภูมินํ้ามันสูงเกินไป
5. นํ้ามันจากจุดต่าง ๆ รั่วซึมผิดปกติ เป็นต้น
T = TIGHTEN คือ การขันให้แน่น ซึ่งต้องปฏิบัติทันทีเมื่อตรวจพบสิ่งต่าง ๆ ที่คลาย หลวมคลอน
ตัวอย่าง เช่น
1. การขันน๊อตใบมีด คมตัดให้แน่น
2. การขันน๊อตล้อให้แน่น
3. การขัน หัวต่อ ข้อต่อ จุดต่าง ๆ ให้แน่น เป็นต้น
C = CLEAN, CHECK และ CHANGE
CLEAN คือ การทําความสะอาด เช่น เช็ดไขข้น ล้างทําความสะอาดส่วนต่าง ๆ ส่วนประกอบ และ
อุปกรณ์ต่าง ๆ ของเครื่องมือช่าง เป็นต้น
CHECK คือ การตรวจทั่วไป โดยใช้สัมผัสเช่น ตา หู กาย เช่น ตรวจดูใต้ท้องรถ ตรวจดูสิ่งที่หยดลง
มาจากตัวรถสู่พื้น เป็นต้น
CHANGE คือ การเปลี่ยน เช่น เปลี่ยนนํ้า นํ้ามันต่าง ๆ ตัวกรองต่าง ๆ รวมทั้งชิ้นส่วน ส่วนประกอบ
และอุปกรณ์ต่าง ๆ ของเครื่องมือช่าง เป็นต้น
A = ADJUST คือ การปรับให้ได้ระยะตามคู่มือที่กําหนด เช่น การปรับลิ้นของเครื่องยนต์
ปรับระยะฟรีของอุปกรณ์ชิ้นส่วนต่าง ๆ การปรับสายพานพัดลม และสายพานล้อขับเคลื่อน เป็นต้น
L = LUBRICATION คือ การให้การหล่อลื่นจุดต่าง ๆ อุปกรณ์ต่าง ๆ เช่น อัดไขข้น
ทาชโลมนํ้ามัน ทาไขข้น หยอดนํ้ามันเพื่อลดการเสียดสีที่ผิดปกติอันอาจทําให้เครื่องมือช่างชํารุดเสียหายได้
เป็นต้น
S = SERVICE คือ การบริการ ที่นอกเหนือจากการปรนนิบัติบํารุง เช่น การพ่นสี การเติมนํ้ายา
เครื่องปรับอากาศ เป็นต้น
SMELL คือ การได้กลิ่นต่าง ๆ เช่น กลิ่นไหม้จากสายไฟลัดวงจร และคลัตช์หมด เป็นต้น
“FITCALS” นับได้ว่าเป็นหลักการปรนนิบัติบํารุงของหน่วยใช้ซึ่งถ้าหน่วยใช้ใดยึดถือและปฏิบัติได้
อย่างสมํ่าเสมอ เคร่งครัดแล้ว เครื่องมือช่างที่อยู่ในความรับผิดชอบจะต้องอยู่ในสถานภาพที่พร้อมใช้งานได้