Page 214 - เครื่องมือช่างชั้นต้น
P. 214

12-3



                      การปรนนิบัติบํารุง นั้น มิได้มีขอบเขตแต่เพียงอาวุธยุทโธปกรณ์สายใดสายหนึ่ง แต่อย่างเดียวจริง

               อยู่ยุทโธปกรณ์ “สายทหารช่าง” ล้วนแต่เป็นยุทโธปกรณ์ที่มีราคาแพง และมีจํานวนอยู่ในแต่ละหน่วยสูง
               รวมทั้งมีความยุ่งยากในการปรนนิบัติบํารุงมาก แต่ผู้บังคับหน่วย ควรระลึกไว้ว่ายุทโธปกรณ์ทุกชิ้นจากทุก

               สายงานเป็นสิ่งซึ่งจะต้องรวมอยู่ในขอบเขตของการปรนนิบัติบํารุงทั้งสิ้น ยุทโธปกรณ์ชิ้นเล็ก ๆ น้อย ๆ แต่

               ถ้าใช้สิ้นเปลืองเป็นปริมาณมาก ๆ ก็ย่อมมีผลกระทบกระเทือนถึงเศรษฐกิจในระดับชาติได้เช่นกัน ฉะนั้นจึง

               ถือเป็นเรื่องจําเป็นอย่างยิ่ง ที่จะต้องรู้จักถนอมอาวุธยุทโธปกรณ์ ปรนนิบัติบํารุงและซ่อมบํารุงให้คงสภาพดี

               อยู่เสมอ โดยให้มีการสิ้นเปลืองให้น้อยที่สุดที่จะทําได้ ที่ว่าถนอมอาวุธฯ นั้นอย่าเข้าใจว่าไม่ให้นําออกใช้
               อาวุธที่ใช้สําหรับฝึกทหารนั้นย่อมมีการสึกหรอเป็นธรรมดา แต่ถ้าการสึกหรอนี้เกิดจากความประมาท

               เลินเล่อปล่อยปละละเลย ในการปรนนิบัติบํารุง แล้ว ก็เป็นการสิ้นเปลืองไปโดยเปล่าประโยชน์ ดังนั้นจึง

               ต้องมีการฝึกการปรนนิบัติบํารุงและการซ่อมบํารุง ร่วมอยู่กับการฝึกปกติด้วย

               12.4 ความจําเป็นของการปรนนิบัติบํารุง
                      ปรากฏว่า ผู้บังคับบัญชาที่ไม่ค่อยมีประสบการณ์ มักจะประสบกับปัญหายุ่งยากและต่อเนื่องใน

               เรื่องที่เกี่ยวกับการปรนนิบัติบํารุงอยู่ตลอดเวลา ยุทโธปกรณ์ส่วนใหญ่เป็นระบบที่สลับซับซ้อนต่อการ

               ดําเนินงาน การใช้งาน และการซ่อมแก้ยุทโธปกรณ์เหล่านี้ต้องการ ความชํานาญ เวลา และต้องมีจุด

               มุ่งหมาย พลประจําหรือช่างซ่อม อาจทําให้ต้องเสียเงิน เป็นจํานวนมาก และต้องใช้เวลาในการซ่อมบํารุง
               นาน ๆ ถ้าการทําผิดพลาดเพียงนิดเดียว ดังนั้น การปรนนิบัติบํารุง จึงต้องประกอบด้วย ความยากลําบาก

               ความตั้งใจจริงและจิตวิทยา หลายประการ

               ประการแรก  ความรู้สึกที่ว่ายุทโธปกรณ์นั้น ๆ เป็นของใคร คนเราส่วนใหญ่มีความรู้สึกว่า “ไม่ใช่ของ

               อะไรของเรา” ความรู้สึกที่ว่ายุทโธปกรณ์นั้น ๆ เป็นของตน เพราะตนเป็นประชากรผู้เสียภาษีในการไปจัดซื้อ

               มานั้น เป็นแต่เพียงความรู้สึกในรูปแบบนามธรรม และเป็นการยากที่จะทําให้พลประจํายุทโธปกรณ์เกิด
               ความรู้สึกภาคภูมิและรับผิดชอบเหมือนกับความรู้สึกในของซึ่งเป็นสมบัติของตนเองได้

               ประการที่สอง  การปรนนิบัติบํารุง ต่างกับ การซ่อมบํารุง การปรนนิบัติบํารุงนั้น เป็นงานที่ทําไปทีละเล็กที

               ละน้อย แต่ต่อเนื่องกันอยู่ตลอดเวลา มองไม่ใคร่เห็นผลงานเหมือนการซ่อมบํารุง ในชั้นสูงมาตรการในการ

               วัดความสําเร็จของการปรนนิบัติบํารุง คือ การที่ยุทโธปกรณ์ไม่ชํารุด การปรนนิบัติบํารุงที่ดีก็คือ การที่ต้อง
               คอยเอาใจใส่ต่อสิ่งเล็ก ๆ น้อย ๆ เช่น คอยดูสิ่งหลวมคลอน   การรั่วซึม  ฯลฯ ผู้ทําการปรนนิบัติบํารุง จึงไม่

               ค่อยเกิดความรู้สึกสัมฤทธิ์ผลในตัวเอง เหมือนการปฏิบัติงานอย่างอื่น ๆ ดังนั้นทั้งผู้บังคับบัญชาและ

               ผู้ปฏิบัติ การปรนนิบัติบํารุงจึงมักเกิดการเบื่อหน่ายและมักจะพยายามหางานที่เกิดผลงานเด่น ๆ มาทํา

               มากกว่าจะสนใจในเรื่อง การปรนนิบัติบํารุง
               ประการที่สาม ในยามปกตินั้น ปัญหาที่เกี่ยวกับการเบื่อหน่ายใน การปรนนิบัติบํารุง ยิ่งขยายกว้าง

               ออกไปอีก เพราะในยามสงบนั้นไม่มีข้อเท็จจริงเกี่ยวกับการรบมาเป็นบทเรียนให้เกิดความรู้สึกเป็นการยาก

               ที่จะให้ผู้ใต้บังคับบัญชาของท่านเกิดความรู้สึกว่า ในอนาคตอันคาดไม่ถึงนี้ การปรนนิบัติบํารุงจะเป็นเครื่อง

               แสดงถึงการมีชีวิต อยู่หรือตายไป การพ่ายแพ้หรือชัยชนะในการรบ
   209   210   211   212   213   214   215   216   217   218   219