Page 86 - ทางและสนามบิน
P. 86
4-41
11.3 วิธีการก่อสร้าง
ให้ทำการรื้อชั้นทางเดิมออกจนถึงระดับความลึกอย่างน้อย 100 มิลลิเมตร ตลอด
ความกว้างของชั้นทางหรือตามที่กำหนดไว้ในแบบ และในระหว่างการรื้อชั้นทางเดิมจะต้องระมัดระวังไม่ให้เกิด
ความเสียหายต่อโคร้งสร้าง และสาธารณูปโภคอื่น ๆ
ทำการบดย่อยวัสดุที่รื้อออก พร้อมทั้งคัดวัสดุที่ใช้ไม่ได้ หรือวัสดุที่ไม่ต้องการออกให้
หมดแล้วคลุกเคล้าให้เป็นเนื้อเดียวกันพร้อมทั้งพรมน้ำให้ได้ความชื้นพอเหมาะ แล้วทำการบดทับให้ได้
รูปร่างราบเรียบ และความหนาแน่นตามที่กำหนด
11.4 การตรวจสอบ
11.4.1 การทดสอบความแน่นของการบดทับ
ความแน่นที่บดทับเรียบร้อยแล้ว จะต้องได้ความแห้งสม่ำเสมอตลอดทาง ไม่ต่ำกว่า
ร้อยละ 95 ของความแน่นแห้งสูงสุดที่ได้จากการทดลองตัวอย่างวัสดุเก็บจากหน้างานสนาม หลังการ
คลุกเคล้าผสมและปูลงบนถนนแล้ว ตาม ทล.-ท. 108 “วิธีการทดลอง Compaction Test แบบสูงกว่า
มาตรฐาน”
การทดสอบความแน่นของการบดทับ ให้ดำเนินการทดสอบตาม ทล.-ท. 603 “วิธี
ทดลองการหาค่าความแน่นของวัสดุในสนามโดยใช้ทราย ” ทุกระยะประมาณ 100 เมตร ต่อ 1 ช่องทาง
จราจร หรือประมาณพื้นที่ 500 ตารางเมตร ต่อ 1 หลุมตัวอย่าง
11.5 การวัดปริมาณงานและการจ่ายค่างาน
11.5.1 วิธีการวัดปริมาณงาน
การวัดปริมาณงานรื้อชั้นทางเดิมและก่อสร้างใหม่ ให้คิดจากพื้นที่ตามที่ก่อสร้าง
จริง ปริมาณงานมีหน่วยเป็นตารางเมตร
11.5.2 วิธีการจ่ายค่างาน
การจ่ายค่างานตามรายการนี้ หมายรวมถึง ค่าวัสดุ ค่าเครื่องจักร ค่าแรงงาน และอื่น
ๆ ที่จำเป็นเพื่อการก่อสร้างให้ถูกต้องเรียบร้อยตามขอกำหนด โดยคิดจ่ายค่างานที่แล้วเสร็จแต่ละงวด ใน
้
ราคาต่อหน่วยตามสัญญา
12.งานผิวทางวัสดุมวลรวม ( SOIL - AGGREGATE TEMPORARY SURFACE )
่
หมายถึง การกอสร้างชั้นผิวทางบนชั้นวัสดุคัดเลือก หรือชั้นอื่นใดทได้เตรียมไว้แล้ว ด้วยวัสดุ
ี่
้
มวลรวม ที่มีคุณภาพตามขอกำหนด โดยการเกลี่ยแต่ง และบดทับ ให้ได้แนว ระดับ และรูปร่างตามที่แสดงไว้
ในแบบ