Page 37 - ทางและสนามบิน
P. 37
3-2
1.11 ทางในที่เนินและภูเขา
1.11.1 ให้พิจารณากำหนดระดับก่อสร้าง ให้มีลาดชันน้อยที่สุดเท่าที่ลักษณะภูมิประเทศจะ
ี่
อำนวยให้ ความลาดชันต้องไม่เกินมาตรฐานที่กำหนด และไม่ยาวเกินไปจนเป็นเหตุให้ความเร็วของรถทไต่ลาด
ชันลดลงมากเกินพิกัดที่กำหนด (25 kph)
ี
1.11.2 ในกรณที่ลักษณะภูมิประเทศลาดชันเป็นระยะทางยาวควรออกแบบ ให้ระดับ
ก่อสร้างที่ชันกว่าอยู่ช่วงเริ่มต้นขึ้นเนิน และลดลงบริเวณยอดเนินและไม่ควรออกแบบ ให้มีระดับก่อสร้าง
ื่
่
ระดับเดียวกันยาวนานเกินไป ควรมีระดับกอสร้างที่ราบหรือลาดชันน้อยเป็นระยะๆ เพอให้รถสามารถเพิ่ม
ความเร็วได้
1.11.3 พยายามกำหนดระดับก่อสร้างให้ปริมาณงานดินตัดใกล้เคียงกับ ปริมาณงานดินถม
ี่
เพื่อลดปัญหาการนำดินตัดส่วนเกินไปทิ้ง หรือลดปัญหาการนำดินจากทอื่นมาถม ซึ่งเป็นการช่วยลดค่างาน
ก่อสร้าง
1.11.4 พยายามกำหนดระดับก่อสร้างให้รูปตัดดันทางเป็นรูปตัดเต็มพื้นที่คันทาง (full
cut) หรือตัดบางส่วน (partial cut partial fill) เพื่อลดค่างานก่อสร้าง
1.12 ในบางช่วงลำน้ำที่ต้องออกแบบเป็นสะพาน กรณีที่ไม่มีการสัญจรทางน้ำ หรือสิ่งของลอยน้ำ
ระดับกอสร้างกำหนดโดยค่าระดับน้ำสูงสุด ความสูงของช่องลอด และความหนาของพื้นสะพาน กรณีที่มีการ
่
สัญจรทางน้ำหรือสิ่งลอยน้ำ หรือการสัญจรทางน้ำและความหนาของพื้นสะพาน
1.12.1 ช่องลอด
1.12.1.1 หากไม่มีสิ่งลอยน้ำ ให้ใช้ 0.50 - 0.70 เมตร
1.12.1.2 สำหรับเรือแจวหรือเรือเล็ก ให้ใช้ 1.50 เมตร
1.12.1.3 สำหรับเรือของกรมชลประทาน ให้ใช้ 3.80 เมตร
1.12.1.4 หากมีซุงหรือขอนไม้ ฯลฯ ให้ใช้ประมาณ 1.00 เมตร
ิ
1.12.1.5 ในกรณีพเศษ ให้กำหนดตามลักษณะของความสูงพิเศษนั้น
1.12.2 ความหนาของพื้นสะพาน
1.12.2.1 สำหรับแผ่นพื้น (slab type) ประมาณ 53 ชม. (span 10 เมตร)
1.12.2.2 สำหรับ Box Girder ประมาณ 73 ชม. (span 20 เมตร)
1.12.2.3 สำหรับ I - Girder ประมาณ 110 ชม. (span 30 เมตร)
การออกแบบระดับก่อสร้างตามที่กล่าวมาแล้ว เป็นแนวทางในการออกแบบเท่านั้น ซึ่งขึ้นกับข้อมูล
การออกแบบและประสบการณ์ของผู้ออกแบบ ทั้งนี้จะต้องพิจารณาถึงความสะดวกรวดเร็ว และปลอดภัย
ประหยัดค่าก่อสร้าง ค่าบำรุงรักษา และค่าใช้ทาง ความสะดวกสบายในการขับรถ ความสวยงามของทาง
เหมาะสมในทางปฏิบัติและถูกต้องตามหลักวิชาการด้วย