Page 36 - ทางและสนามบิน
P. 36

3-1

                                                         บทท 3
                                                              ี่
                                   การออกแบบระดับก่อสร้าง (Grade  line  design)


               1.  หลักในการออกแบบก่อสร้าง

                      การออกแบบระดับก่อสร้างต้องพิจารณาถงความสะดวก รวดเร็ว          และปลอดภัย ประหยัดค่า
                                                         ึ
               ก่อสร้าง การบำรุงรักษา ตลอดจนค่าใช้ทาง (road  user  cost) ซึ่งมีหลักการออกแบบโดยทั่วไปดังนี้
                      1.1 ต้องเป็นไปตามมาตรฐานชั้นทาง และลักษณะของภูมิประเทศ ที่กำหนดให้ลาดชันสูงสุดไม่เกิน

               มาตรฐานที่กำหนด

                      1.2 ไม่ควรออกแบบระดับก่อสร้างในแต่ละช่วงลาดชันมาก หรือเปลี่ยนอย่างกระทันหัน      และใน
               แต่ละช่วงเป็นระยะทางสั้น ๆ  ซึ่งมีลักษณะเป็นลูกคลื่น ควรออกแบบให้ค่อย ๆ เปลี่ยนไป        ตามลักษณะ

               ส่วนใหญ่ของภูมิประเทศ โดยให้ความรู้สึกเป็นเส้นที่ต่อเนื่องกัน และให้ระดับก่อสร้างในแต่ละช่วงยาวที่สุด
               เท่าที่จะทำได้ แต่ต้องคำนึงถึงระยะการไต่ลาดชันวิกฤต (critical  length  of  grade)

                      1.3 วัสดุโครงสร้างชั้นทาง  (pavement  structure)  ชั้นล่างสุดจะต้องอยู่สูงสุดจากระดับน้ำสูงสุด

               อย่างน้อย 30 ซม.
                      1.4 การออกแบบถนนที่อยู่บนดินอ่อน ต้องพิจารณาถึงการทรุดตัวของถนน       กับอายุการใช้งาน

               ความสูงวิกฤต (critical  height) ระดับน้ำใต้ดิน และความมั่นคงแข็งแรงของคันทาง       ถ้าออกแบบระดับ
               ก่อสร้างไม่เหมาะสม อาจทำให้เกิดความวิบัติ (failure) ของคันทางได้

                      1.5 งานบูรณะราดยางผิวทางเดิม      ที่สามารถนำมาใช้เป็นส่วนหนึ่งของโครงสร้างชั้นทางใหม่ได้

                     ่
               ระดับกอสร้างกำหนดโดยการใช้ความหนาของวัสดุที่เสริมทับบนผิวทางเดิมและค่าระดับน้ำสูงสุด
                      1.6 ทางในย่านชุมนุมชน การกำหนดระดับก่อสร้างจะต้องพิจารณาถึงความสูง ของอาคารสองข้าง

               ทาง หรือเขตทางที่แคบ เป็นเหตุให้ดินปิดกันทางสำหรับเข้าอาคาร หรืออยู่นอกเขตทาง

                      1.7 การปรับระดับก่อสร้าง   ให้เข้ากับถนนทางแยกสะพาน  ที่ได้มาตรฐานควรให้มีระยะปรับระดับ
                               ี
               (transition) ยาวเพยงพอ
                      1.8 ระยะมองเห็น (sight distance)     ต้องมีระยะเพียงพอต่อการแซงและหยุดรถ  (passing  and
               stopping  sight  distance) ได้ด้วยความปลอดภัยโดยให้มีความยาวโค้งตั้งไม่น้อยกว่าค่า      ที่แสดงไว้ใน

               ตารางที่ 7 และอาจใช้ความยาวโค้งตั้งมากกว่าที่แสดงไว้ในตารางได้ เพื่อแก้ปัญหาการตัดลึกถมสูง

                      1.9 ไม่ควรออกแบบให้มีระยะตรง (tangent) ระหว่างสองโค้งที่อยู่ใกล้กันนั้นจนเกินไป
                      1.10 บริเวณทางแยก บริเวณที่มีผู้ใช้จักรยานมาก  และบริเวณสะพานให้กำหนดระดับก่อสร้างลาดชัน

               น้อยที่สุด ในบริเวณทางแยก บริเวณที่มีผู้ใช้ทางจักรยานมาก ให้ลาดชันไม่เกิน 2 เปอร์เซ็นต์ และบริเวณ
               สะพานไม่เกิน 6 เปอร์เซ็นต์
   31   32   33   34   35   36   37   38   39   40   41