Page 14 - ทางและสนามบิน
P. 14

1-5

                      2. คำนวณหาค่า  G.R. ( grade rod ) ซึ่งเป็นค่าแตกต่างระหว่าง H.I. กับค่าระดับของแนวทาง

               ( grade line )
                                                   G.R.  =  H.I. - grade

                      3. อ่านค่าจากไม้ระดับซึ่งตั้งตรงหมุดที่ศูนย์กลางแนวทาง  ค่าทได้บันทึกเป็นค่า rod
                                                                            ี่
                      4. คำนวณหาค่าความลึกของดินตัดหรือความสูงของดินถม ได้จากนำค่า G.R. ลบด้วย       ค่า rod
                                     ความลึกของดินตัด ( หรือความสูงของดินถม ) =  G.R. - rod

                                              ถ้าเป็นช่วงดินตัดผลลัพธ์จะมีเครื่องหมายบวก

                                              ถ้าเป็นช่วงดินถมผลลัพธ์จะมีเครื่องหมายลบ
                      5. นำค่าความลึกของดินตัดหรือความสูงของดินถมในข้อ 4. คูณด้วยค่า s  ซึ่งเป็นค่าอัตราลาด

               ด้านข้างของถนน  s:1 ( แนวนอน  :  แนวตั้ง )

                      6. นำผลลัพธ์จากข้อ 5. บวกด้วยค่าครึ่งหนึ่งของความกว้างคันทาง ( b / 2 เมื่อคันทางกว้าง
               เท่ากับ b ) ผลที่ได้จะเป็นค่าออฟเซทที่คำนวณได้จากแนวศูนย์กลางทาง

                      7. นำไม้ระดับไปลองตั้งใกล้กับระยะของออฟเซทที่คำนวณได้โดยข้อ 6. โดยพิจารณาดังนี้

                              7.1 ถ้าลาดของผิวลาดเอียงด้านข้างของถนนและลาดของพื้นดินเดิม เอียงสวนทางกันให้ตั้ง
               ไม้ระดับไมถึงจุดออฟเซทที่คำนวณได้โดยเทียบจากจุดตั้งไม้ระดับที่ใช้คำนวณหาค่าออฟเซทค่านั้น
                        ่
                              7.2 ถ้าลาดของผิวลาดเอียงด้านข้างของถนนและลาดของพื้นดินเดิม เอียงไปทางเดียวกันให้
               ตั้งไม้ระดับเลยจุดออฟเซทที่คำนวณได้โดยเทียบจากจุดตั้งไม้ระดับที่ใช้คำนวณหาค่าออฟเซทเท่านั้น

                      8. เมื่อลองตั้งไม้ระดับที่ต่ำแหน่งใดให้วัดระยะตามแนวราบจากจุดศูนย์กลางทางไปยังจุดที่ตั้งไม ้

               ระดับนั้น แล้วส่องกล้องอ่านค่าจากไม้ระดับเพื่อนำค่ามาคำนวณหาระยะของออฟเซทตามวิธีการตั้งแต่ข้อ 1.
                   ้
                                                                                 ั
               ถึงขอ 6. ถ้าระยะตามแนวราบจากจุดศูนย์กลางทางถึงตำแหน่งที่ตั้งไม้ระดับเท่ากบออฟเซทที่คำนวณได้ของ
               ตำแหน่งนั้น แสดงว่าตำแหน่งที่ตั้งไม้ระดับนั้นเป็นตำแหน่งของหมุดขอบลาดที่ถูกต้อง
                      9. ถ้าระยะตามแนวราบของตำแหน่งตั้งไม้ระดับซึ่งวัดจากจุดศูนย์กลางทางยังไม่เท่ากับออฟเซทที่

               คำนวณได้ให้เลื่อนไม้ระดับไปตำแหน่งอื่น โดยพิจารณาการเลื่อนตำแหน่งตามหลักการในข้อ 7.กระทั่งได้

                                       ู
               ตำแหน่งของหมุดขอบลาดที่ถกต้อง
   9   10   11   12   13   14   15   16   17   18   19