Page 12 - ท่าเรือและท่าเทียบเรือ
P. 12
1-5
4.1 การป้องกันจากทะเล
หากปราศจากการป้องกัน การกระทำของคลื่น และกระแสอย่างเพียงพอแล้ว เรือ
ก็ไม่สามารถทำการขนถ่ายจากบริเวณที่ทอดสมออู่เรือขนถ่ายได้ การที่จะให้แล่นเข้าสู่บริเวณท่าเทียบเรือ
จะเป็นสิ่งที่ลำบากมากหรือไม่อาจเป็นไปได้เลย การกระทำของคลื่นอาจจะทำลายท่าเทียบเรือ ให้เสียหายหรือ
ลดอัตราการขนถ่ายให้น้อยลงไป หากการป้องกันตามธรรมชาติไม่มีเลย ก็จะต้องพิจารณาสร้างเครื่องป้องกัน
ขึ้น เช่น เขื่อนกันคลื่น หรือ เขื่อนบังคับกระแส
4.2 อุทกศาสตร์
ในการที่จะนำเรือจากทะเลเปิดเข้าสู่บริเวณท่าเทียบเรือนั้น จะต้องมีร่องน้ำที่เรือสามารถ
แล่นเข้าได้ และความลึกของน้ำ จะต้องลึกพอเหมาะ เรื่องนี้จำเป็นต้องศึกษาเกี่ยวกับ กระแสน้ำ ความลึก
และวัสดุพื้นท้องน้ำของท่าเรือ ซึ่งจำเป็นต้องอ้างถึงอุทกศาสตร์ของบริเวณนั้น เมื่อพูดถงความลึก ก็จำเป็นต้อง
ึ
ระบุให้ทราบว่าเรือลำเลียงมาตรฐานแบบ LIBERTY ต้องการน้ำลึก 28 ฟุต แบบ VICTORY ต้องการ 29
ฟุต และเรือลำเลียงทหารขนาดใหญ่จะต้องการอย่างสูง 38 ฟุต กระแสอาจจำกัดตำบลที่จะใช้จอดเรือเพราะ
็
เรืออาจถูกกระแสพัดให้จมได้ กระแสที่ปราศจากการควบคุมกอาจจะเป็นเหตุที่ทำให้บริเวณท่าเรือเกิดการตื้น
เขินหรือเซาะพังได้อย่างมาก วัสดุพื้นท้องน้ำที่มีการเปลี่ยนแปลงอยู่ตลอดเวลา จะเป็นสิ่งที่กอให้เกิดการตื้นเขิน
่
ได้อย่างรวดเร็วและก็จะเป็นการปิดทางร่องน้ำได้ตอนใดที่มความลึกของระดับน้ำไม่เพียงพอแล้ว หากพื้นท้อง
ี
น้ำที่เป็นหินจะเป็นสิ่งขจัดการขุดลอกร่องน้ำไม่ให้สามารถทำได้อย่างรวดเร็วได้
4.3 ทางเข้าออกของท่าจอดเรือ
หากว่า ท่าจอดเรือจำเป็นต้องป้องกัน เนื่องจากเป็นทะเลเปิดแล้ว ทางเข้าออกของท่า
จอดเรือ ก็เป็นสิ่งจำเป็นต้องปกปิด ทางเข้าออกยังท่าจอดเรือจะต้องไม่สามารถจะทำการปิดโดยการจมเรือ
เพียงลำเดียว ณ ปากทางเขานั้นได้ ทางเข้าออกของท่าจอดเรือ มีความกว้างตามมาตรฐานที่ต้องการ 700 ฟุต
้
และทางเข้าออกสำรองก็ควรจะได้กระทำไว้หากสามารถทำได้ และเนื่องจากจะต้องกระทำทางเข้าออกสำรอง
นี้เอง บางครั้งการป้องกันจำเป็นต้องละทิ้งเสียบ้าง ท่าจอดเรือควรปราศจากสิ่งกีดขวางในการเดินเรือให้มาก
ที่สุด เช่น หินโสโครก หินที่สูง ๆ ใต้น้ำ หรือแนวหินใต้น้ำ ที่อยู่ภายในบริเวณจากทางเข้าออกจนถึงบริเวณ
ท่าเทียบเรือ