Page 11 - ท่าเรือและท่าเทียบเรือ
P. 11
1-4
3.2 ความสามารถในการขนถ่ายสัมภาระของท่าเรือ
ื่
ปัจจัยอันนี้ พิจารณาโดยสมรรถภาพของท่าเรือที่จะจัดให้เรือเข้าจอดเพอการขนถ่าย
สัมภาระให้เหมาะสม ทั้งนี้ ไม่ว่าจะเป็นการให้จอดทอดสมออยู่เอง แล้วทำการขนถ่ายสัมภาระลงจากเรือ
ใหญ่โดยตรง ณ ริมฝั่งนั่นเอง หรือกระทำทั้ง 2 กรณี พร้อม ๆ กัน
3.3 ความสามารถในการลำเลียงสัมภาระออกจากท่าเรือ
ปัจจัยอันนี้ คือ ความสามารถในการขนถ่ายสัมภาระออกไปเสียจากบริเวณท่าเรือ ทั้งนี้ ต้อง
ระลึกเสมอว่า ท่าเรือมิใช่เป็นพื้นที่สำหรับเป็นคลังเก็บสัมภาระ หากจะยอมให้สัมภาระค้างอยู่บริเวณท่า
เทียบเรือ หรือในคลังพักสัมภาระแล้วย่อมเป็นเครื่องขัดขวางการขนถ่ายจากเรือต่อไปได้ เส้นทาง
คมนาคมที่จะต้องออกนอกบริเวณท่าเรือ ก็จะต้องสามารถรับน้ำหนักจำนวนสัมภาระที่จะลำเลียงออกได้ต่อ
วัน เช่นเดียวกับ การขนถ่ายจากเรือขึ้นสู่ฝั่งเหมือนกัน
4. การเลือกที่สร้าง
ต่อไปนี้ จะได้พิจารณากันถึงตำบลที่ตั้งในการปฏิบัติงานเกี่ยวกับท่าเรือ พื้นที่ทั่วไปที่เราจะต้อง
เกี่ยวข้องนั้น ในการปฏิบัติการยุทธหรือทางยุทธวิธีแล้ว เจ้าหน้าที่ที่เกี่ยวข้องในการวางแผนเป็นผู้ที่จะ
กำหนด แต่ในเวลาปฏิบัติการเป็นหน้าที่ของหัวหน้าเหล่าทหารช่าง ในกรณีนี้ส่วนมากงานช่างจะจำกัดอยู่
เฉพาะการกู้สร้าง หรือการปรับปรุงสิ่งอำนวยความสะดวกในท่าเรือที่มีอยู่เดิมแล้วอย่างไรก็ดี ในเวลา
สงครามอาจจำเป็นที่จะต้องบุกเบิกท่าเรือใหม่ขึ้นก็ได้ ดังเช่น ที่ได้เคยกระทำในคราวบุกขึ้นที่นอร์มังดี
การเลือกที่สร้างโดยเฉพาะในกรณีดังกล่าวนั้น ย่อมจะกระทำโดยเจ้าหน้าที่ผู้ใช้ และเจ้าหน้าที่สร้างซึ่งเป็นตัว
ี่
แทนที่กำหนดลงไปในตำบลที่ถูกต้องแน่นอน ทั้งทตั้งของท่าเรือ และสิ่งอำนวยความสะดวกที่ต้องการ
เจ้าหน้าที่ผู้ใช้นั้นโดยมากก็คือ เหล่าทหารขนส่งของ ทบ. หรือ ทร. เจ้าหน้าที่สร้างก็คือ เหล่าทหารช่างของ
ั
ทบ. หรือทั้ง 2 กองทัพร่วมกน
ในการเลือกที่สร้างท่าเรือนี้ ปัจจัยที่สำคัญและแน่นอน มักจะต้องหยิบยกขนมาพิจารณา
ึ้
ประการแรก จะต้องพิจารณาถึงความสามารถของท่าเรือ การสนับสนุนที่ต้องการของกำลังรบในสนาม ซึ่ง
เป็นเรื่องเกี่ยวกับการส่งกำลังบำรุง และจะไม่กล่าวถึงในวิชานี้ แต่อย่างไรก็ดีปริมาณที่ต้องการ ก็จะต้อง
ประมาณหรือกำหนดให้ แต่จากความชำนาญที่ได้จากอดีตอันเป็นกฏง่าย ๆ ที่ดีอันหนึ่ง ในเมื่อเราไม่
สามารถจะหาตัวเลขที่ดีกว่าได้แล้ว คือ “ทหารคนหนึ่งที่ต้องการยุทธภัณฑ์ 2 SHIPTONS ต่อเดือน”และ
จะต้องพิจารณาถึงปัจจัยอื่น ๆ ที่จะมผลกระทบต่อตำบลที่ตั้งของท่าเรือ คือ
ี