Page 20 - การดาดผิว
P. 20

2 - 1

                                                          บทที่ 2


                                การพิสูจน์ทราบวัสดุบิทูมินัสในสนาม (Field Identification)

               1. การพิสูจน์ทราบในสนาม  ปัญหาเรื่องการพิสูจน์ทราบวัสดุบิทูมินัส   ที่ไม่ทราบชนิดในยุทธบริเวณเป็นความ

               จำเป็นอย่างยิ่ง โดยเฉพาะทหารช่าง อาจสรุปได้ดังนี้

                       - เพื่อให้สามารถออกแบบหรือหาชนิดของผิวที่เหมาะสมกับวัสดุนั้น ๆ ได้
                       - ทราบวิธีการที่จะก่อสร้าง

                       - ทราบ ชนิดและจำนวนของเครื่องมือที่จำเป็น

                       - กำหนดกรรมวิธีที่ควรปฏิบัติเพื่อความปลอดภัยได้
                                    การทดสอบต่าง ๆ ที่ใช้สำหรับพิสูจน์ทราบในสนาม


                2. การทดสอบละลาย  (Solubility Test)
                      ขั้นแรกคือ  การหาว่าเป็นแอสฟัลต์หรือน้ำมันดินโดยการทดลองง่าย  ๆ  เกี่ยวกับความสามารถในการ

               ละลายของวัสดุ ในปิโตรเลียมกลั่น เช่น เบนซิน, น้ำมันก๊าด, ดีเซล ถ้าเป็นแอสฟัลต์   มันจะละลายและผสมใน

                                                                                       ั
               ปิโตรเลียมได้อย่างสม่ำเสมอ, ถ้าเป็นน้ำมันดินจะคงรูปเป็นเส้น ๆ ไม่ละลาย, สำหรับอีมลชั่นจะคงรูปเป็นลูกปัด,
               หรือลูกกลม ๆ หลาย ๆ ลูกไม่ละลายอยู่ที่ก้นภาชนะใส่   ปิโตรเลียมกลั่น


                3. การทดสอบสำหรับแอสฟัลต์ซีเมนต์

                      3.1 การทดสอบริน (Pour Test)  ถ้าในการทดสอบละลายแสดงว่าเป็นแอสฟัลต์ ซึ่งอาจจะเป็น

               แอสฟัลต์ซีเมนต์ หรือ แอสฟัลต์คัทแบคก็ได้ ฉะนั้นการทดสอบการรินกระทำได้โดย รินภาชนะที่บรรจุตัวอย่าง
               ณ อุณหภูมิของห้อง (77 ํ ฟ.) แอสฟัลต์ซีเมนต์เป็นของแข็งจะไม่ไหล ส่วนแอสฟัลต์คัทแบคเป็นของไหลสามารถ

               รินได้

                      3.2 การทดสอบทะลุทะลวง (Penetration Test)  ถ้าวัสดุนั้นละลายในปิโตรเลียม     และไม่ไหล

               แสดงว่าเป็นแอสฟัลต์ซีเมนต์ ซึ่งต้องพิสูจน์ต่อไปว่าเป็นพวก แข็ง, ปานกลาง, หรืออ่อนอก โดยการใช้ดินสอ
                                                                                       ี
               ปลายแหลมหรือตาปูดัน (กด) เข้าไปในแอสฟัลต์ตัวอย่าง ณ อุณหภูมิ 77 ํ ฟ.         ใช้แรงดันประมาณ 10
               ปอนด์

                                                                                   ็
                              -  ถ้าปลายดินสอแตกหรือทะลุเข้าไปได้ยาก เป็นแอสฟัลต์พวกแขง
                              -  ถ้าทะลุ เข้าไปได้อย่างช้า ๆ และเข้าได้ถึงทุกความลึก เป็นแอสฟัลต์พวกปานกลาง
                              -  ถ้าทะลุเข้าไปอย่างง่ายดาย  เป็นแอสฟัลต์พวกออน  (ไม่สามารถรินได้ที่ อุณหภูมิ 77 ํ ฟ.)
                                                                       ่
   15   16   17   18   19   20   21   22   23   24   25