Page 54 - การดาดผิว
P. 54

4 - 8

                                       ่
                       2.4 การออกแบบสวนผสมสเลอร์รีซีล
                              2.4.1 การออกแบบส่วนผสมจะใช้วิธีของ The Asphalt Institute Manual Series No. 19
               ;  March  1979  โดยวิธีหาค่า  C.K.E.  (Centrifuge  Kerosene  Equivalent  Test)  และมาตรฐาน  ASTM

               Designation : D 3910-80 a Volume 0403 ; ปี 1984 “Standard Practices for Design , Testing  and

               Construction of Slurry Seal”
                              2.4.2 คุณภาพของวัสดุที่จะใช้ผสมจะต้องผ่านการทดลองคุณภาพให้ใช้ได้แล้วการออกแบบ

              ส่วนผสมจะต้องให้เหมาะสมสภาพปริมาณการจราจร สภาวะอากาศ การบ่ม และการใช้งาน

                              2.4.3 คุณสมบัติของสเลอร์รีซีล มีคุณสมบัติดังต่อไปนี้
                                  -  สเลอร์รีต้องข้นหรือเหลวมากเกินไป การไหลอยู่ ระหว่าง 20-30 มม.

                                  -  สเลอร์รีต้องมีการกอตัวเริ่มต้นไม่เกิน 12 ชั่วโมง
                                                  ่
                                  -  เวลาในการใช้บ่มไม่เกิน 24 ชั่วโมง

                                  -  ค่าสูญเสียจากการสึกหรอร่องทางเปียกไม่มากกว่า 800 กรัมต่อตารางเมตร
                                                                              ั
                                  -  เวลาที่เปิดให้การจราจรผ่านได้ กำหนดให้เหมาะสมกบสภาพความจำเป็นในสนาม
               3. วิธีการการก่อสร้าง

                                                                              ี่
                      เมื่อได้ตรวจสอบเครื่องจักรเครื่องมือ อุปกรณ์ต่างๆ และเตรียมพื้นทที่จะก่อสร้างแล้วก็สามารถทำการ
               ก่อสร้างดังนี้

                        3.1 การก่อสร้างผิวแบบเซอร์เฟซทรีตเมนต์ชั้นเดียว

                              คือการราดแอสฟัลต์ 1 ครั้ง และโรยหินย่อยหรือกรวดย่อยทับหน้า 1 ครั้ง แล้วบดทับให้
               แน่น โดยดำเนินการดังต่อไปนี้

                                                                                                ี่
                              3.1.1  ใช้เครื่องพ่นแอสฟัลต์ ราดแอสฟัลต์ตามอุณหภูมิที่กำหนดไว้ตามตารางท 4-1
               ในอัตราที่กำหนดให้ (ปริมาณแอสฟัลต์ที่ใช้ราดต้องมีการทดลอง ออกแบบ และกำหนดให้)

                               3.1.2   เมื่อพ่นแอสฟัลต์แล้ว ให้โรยหินย่อยหรือกรวดย่อยปิดทับแอสฟัลต์ทันทีตามปริมาณท ี่
                                                                                                       ้
               กำหนด  ถ้าในพื้นที่บางส่วนไม่มีหินย่อยหรือกรวดย่อยปิดทับหน้า  หรือหินย่อยหรือกรวดย่อยไม่เรียงกอน
                                                                              ้
               สม่ำเสมอ ให้ใช้คนตักสาดหรือเกลี่ยช่วยทันที จนหินย่อยหรือกรวดย่อยเรียงกอนติดกันแน่นสม่ำเสมอ
                              3.1.3  ในกรณีที่ราดแอสฟัลต์ครั้งละครึ่งความกว้างของถนน ในการราดแอสฟัลต์ครึ่ง    ถนน

               แรก การโรยหินย่อยหรือกรวดย่อย ให้โรยเว้นไว้ 100 หรือ 150 มม. เข้ามาจากขอบด้านในของแอสฟัลต์ที่ราด
               เพื่อให้แอสฟัลต์จากการราดแอสฟัลต์ในอีกครึ่งถนนที่เหลือเข้ามาซ้อนทับบนพื้นที่ที่เว้นไว้นี้ ทั้งนี้เพื่อจะได้

               ปริมาณแอสฟัลต์ที่ถูกต้องและสม่ำเสมอทั่วพื้นที่
                                                                ่
                                 3.1.4  ในกรณีที่ใช้หัวฉีดชนิดพิเศษที่ริมทอพ่นแอสฟัลต์ด้านนอกสุดซึ่งหัวฉีดพิเศษชนิดนี้จะ
               ทำให้มีปริมาณแอสฟัลต์ที่พ่นออกมาสม่ำเสมอเท่ากับปริมาณแอสฟัลต์ด้านในแล้วก็ให้โรยหินย่อยหรือกรวด

               ย่อยเต็มความกว้างของพื้นที่ที่ราดแอสฟัลต์ได้ แต่ทั้งนี้หัวฉีดชนิดพิเศษที่นำมาใช้     จะต้องผ่านการตรวจสอบ
               ความสม่ำเสมอของการราดแอสฟัลต์ตามขวาง


                                3.1.5  ขณะที่กำลังโรยหินย่อยหรือกรวดย่อยปิดทับแอสฟัลต์ให้ใช้รถบดล้อยางบดทับตามให้
               เต็มผิวหน้าทันที ประมาณ 2-3 เที่ยว
   49   50   51   52   53   54   55   56   57   58   59