Page 53 - การดาดผิว
P. 53
4 - 7
2.1.4 มวลรวมต้องเป็นหินโม่ ถ้าจำเป็นอาจใช้หินโม่ผสมทรายแต่จะใช้ทรายได้ไม่เกิน
ร้อยละ 50 ของน้ำหนักมวลรวมทั้งหมดและทรายนั้นจะต้องมีค่าดูดซึมน้ำไม่เกินร้อยละ 1.25 สำหรับผิวทางที่มี
ปริมาณการจราจรเฉลี่ย (ADT) เกินกว่า 500 คันต่อวัน ให้ใช้มวลรวมเป็นหินโม่เท่านั้น มวลรวมนี้ต้องแข็ง
้
คงทน สะอาด ปราศจากดินหรือวัสดุไม่พึงประสงค์อย่างอื่นต้องมีคุณสมบัติตามขอกำหนดต่อไปนี้
- หินโม่หรือทรายเมื่อทดลองตามวิธีการทดลองหาค่าเทียบเท่าทราย (Sand equivalent)
- หินโม่เมื่อทดลองตามวิธีการทดลองหาความสึกหรอของมวลรวมหยาบ โดยใช้เครื่อง
ลอสแองเจลีส จะต้องมีค่าไม่เกิน 35 (ให้ทดลองเกรด D)
- มวลรวมต้องมีขนาดคละตารางที่ 4-7
2.1.5 วัสดุตัวเติม (mineral filler) เป็นส่วนหนึ่งของส่วนผสมมวลรวม ต้องใช้ในปริมาณ
น้อยที่สุดเท่าที่จำเป็น และจะใช้เมื่อตองการปรับปรุงให้มีความสามารถทำงานได้ หรือมีขนาดคละได้ตาม
้
ข้อกำหนด เช่น ปูนซีเมนต์ ปูนขาว
2.2 ขนาดของหิน ปริมาณแอสฟัลต์ที่ใช้ และอัตราการฉาบเป็นไปตามตารางที่ 4-7
ตารางที่ 4-7 ขนาดของหินและปริมาณแอสฟัลต์ที่ใช้งานสเลอร์รีซีล
ชนิดของสเลอร์รีซีล 2 3
ขนาดของตะแกรง (mm) ผ่านตะแกรงร้อยละ
9.5 (3/8 นิ้ว) 100 100
4.75 (เบอร์ 4) 90-100 70-90
2.36 (เบอร์ 8) 65-90 45-70
1.18 (เบอร์ 16) 45-70 28-50
0.600 (เบอร์ 30) 30-50 19-34
0.300 (เบอร์ 50) 18-30 12-25
0.150 (เบอร์ 100) 10-21 7-18
0.075 (เบอร์ 200) 5-15 5-15
กากของแอสฟัลต์ ร้อยละ โดยน้ำหนักของหินแห้ง 7.5-13.5 6.5-12.0
อัตราการปูฉาบเป็นน้ำหนักของส่วนผสมสเลอร์รี Kg/m 6.1-9.3 9.3-14.6
2
2.3 ชนิดของสเลอร์รีซีล
2.3.1 สเลอร์รีซีล ชนิดที่ 2 ใช้ฉาบบนผิวทางชั้นแรก ที่ใช้หินย่อยหรือกรวดย่อยขนาด 12.5
mm. (1/2 นิ้ว) ตามตารางที่ 4-3 โดยการฉาบครั้งเดียว ให้มีปริมาณส่วนผสมสเลอร์รีซีลตามตารางที่ 4-7
2.3.2 สเลอร์รีซีล ชนิดที่ 3 ใช้ฉาบผิวทางชั้นแรก ที่ใช้หินย่อยหรือกรวดย่อยขนาด 19.0
mm. (3/4 นิ้ว) ตามตารางท 4-3 โดยแบ่งการฉาบเป็น 2 ครั้ง ให้มีปริมาณส่วนผสมสเลอร์รีรวมทั้งหมด ตาม
ี่
ตารางที่ 4-7