Page 82 - Way&Airfield
P. 82

4-37

               ตั้งฉากกับแนวศูนย์กลางทาง มีความแตกต่างได้ไม่เกิน 10 มิลลิเมตร การตรวจสอบค่าระดับให้ทําทุกระยะ

               25 เมตร หรือน้อยกว่าตามที่นายช่างผู้ควบคุมงานเห็นสมควร ตอนใดที่ผิดไปจากนี้ให้แก้ไข

                              10.1.5 การวัดปริมาณงานและการจ่ายค่างาน

                                     10.1.5.1 วิธีการวัดปริมาณงาน
                                            การวัดปริมาณงานทรายรองใต้ผิวทางคอนกรีต ให้ทําการวัด        เมื่อได้

               ทําการตรวจสอบค่าระดับแล้ว  โดยวัดปริมาณบดอัดแน่นตามที่ได้ก็สร้างจริงตามแบบปริมาณงานมีหน่วย

               เป็นลูกบาศก์เมตร

                                     10.1.5.2 วิธีการจ่ายค่างาน
                                            การจ่ายค่างานตามรายการนี้  หมายรวมถึง  ค่าวัสดุ  ค่าเครื่องจักร

               ค่าแรงงานและอื่น ๆ ที่จําเป็นเพื่อการก่อสร้างให้ถูกต้องเรียบร้อยตามข้อกําหนด      โดยคิดจ่ายค่างานที่

               แล้วเสร็จแต่ละงวด ในราคาต่อหน่วยตามสัญญา

                      10.2 งานรองหินคลุกรองใต้ผิวคอนกรีต

                              หมายถึง การก่อสร้างชั้นรองใต้ผิวทางคอนกรีต บนชั้นรองพื้น    หรือชั้นอื่นใดที่ได้เตรียม

               ไว้แล้ว ด้วยวัสดุหินคลุกที่มีคุณภาพตามข้อกําหนด โดยการเกลี่ยแต่ง และบดทับ  ให้ได้แนว ระดับ และ
               รูปร่างตามที่แสดงไว้ในแบบ







                              10.2.1 วัสดุ

                                     วัสดุหินคลุกต้องเป็นหินโม่มวลรวมที่มีเนื้อแข็ง เหนียว ไม่ผุ สะอาดปราศจากวัสดุ

               อื่น เจือปนจากแหล่งที่ได้รับความเห็นชอบจากนายช่างผู้ควบคุมงานแล้ว วัสดุจําพวก Shale  ห้ามนํามาใช้
                                     ในกรณีที่ไม่ได้ระบุคุณสมบัติไว้เป็นอย่างอื่น วัสดุที่ใช้ทําพื้นทางหินคลุกรองติดกัน

               ใต้ผิวทางคอนกรีตต้องมีคุณสมบัติดังนี้

                                     10.2.1.1 มีค่าความสึกหรอ เมื่อทดลองตาม ทล.-ท.202 “วิธีการทดลองหาค่า

               ความสึกหรอของ Coase aggregate โดยใช้เครื่อง Los  Angeles  Abrasion” ไม่เกินร้อยละ 40
                                     10.2.1.2  มีค่าของส่วนที่ไม่คงทน ( loss ) เมื่อทดลองตาม ทล.-ท.213

               “วิธีการทดลองหาค่าความคงทน ( Soundness ) ของมวลรวม”         โดยใช้โซเดียมซัลเฟตจํานวน 5 รอบ

               แล้วไม่เกินร้อยละ 9
                                     10.2.1.3  ส่วนละเอียด ( Fine  Aggregate )  ต้องเป็นวัสดุชนิด และคุณสมบัติ

               เช่น เดียวกับส่วนหยาบหากมีความจําเป็นต้องใช้วัสดุละเอียดชนิดอื่นเจือปน   เพื่อปรับปรุงคุณภาพจะต้อง

               ได้รับความเห็นชอบจากกรมทางหลวงก่อน
   77   78   79   80   81   82   83   84   85   86   87