Page 87 - Way&Airfield
P. 87
4-42
การทดสอบความแน่นของการบดทับ ให้ดําเนินการทดสอบตาม ทล.-ท. 603 “วิธี
ทดลองการหาค่าความแน่นของวัสดุในสนามโดยใช้ทราย ” ทุกระยะประมาณ 100 เมตร ต่อ 1 ช่องทาง
จราจร หรือประมาณพื้นที่ 500 ตารางเมตร ต่อ 1 หลุมตัวอย่าง
11.5 การวัดปริมาณงานและการจ่ายค่างาน
11.5.1 วิธีการวัดปริมาณงาน
การวัดปริมาณงานรื้อชั้นทางเดิมและก่อสร้างใหม่ ให้คิดจากพื้นที่ตามที่ก่อสร้าง
จริง ปริมาณงานมีหน่วยเป็นตารางเมตร
11.5.2 วิธีการจ่ายค่างาน
การจ่ายค่างานตามรายการนี้ หมายรวมถึง ค่าวัสดุ ค่าเครื่องจักร ค่าแรงงาน และ
อื่น ๆ ที่จําเป็นเพื่อการก่อสร้างให้ถูกต้องเรียบร้อยตามข้อกําหนด โดยคิดจ่ายค่างานที่แล้วเสร็จแต่ละงวด
ในราคาต่อหน่วยตามสัญญา
12.งานผิวทางวัสดุมวลรวม ( SOIL - AGGREGATE TEMPORARY SURFACE )
หมายถึง การก่อสร้างชั้นผิวทางบนชั้นวัสดุคัดเลือก หรือชั้นอื่นใดที่ได้เตรียมไว้แล้ว ด้วยวัสดุ
มวลรวม ที่มีคุณภาพตามข้อกําหนด โดยการเกลี่ยแต่ง และบดทับ ให้ได้แนว ระดับ และรูปร่างตามที่แสดง
ไว้ในแบบ
12.1 วัสดุ
วัสดุมวลรวมต้องเป็นหินโม่มวลรวมที่มีเนื้อแข็ง ทนทาน มีส่วนหยาบผสมกับส่วน
ละเอียดที่มีคุณสมบัติเป็นเชื้อประสานที่ดี ปราศจากก้อนดินเหนียว และวัชพืชอื่น ๆ จากแหล่ง ที่ได้รับ
ความเห็นชอบจากนายช่างผู้ควบคุมงานแล้ว หากมีส่วนที่จับตัวเป็นก้อนแข็ง หรือยึดเกาะกันมีขนาด
โตกว่า 50 มิลลิเมตร จะต้องกําจัดออกไป หรือทําให้แตกและผสมเข้ากันให้มีลักษณะสมํ่าเสมอ วัสดุ
จําพวก Shale ห้ามนํามาใช้
ในกรณีที่ไม่ได้ระบุคุณสมบัติไว้เป็นอย่างอื่น วัสดุที่ใช้ทําชั้นผิวทางวัสดุมวลรวม จะต้องมี
คุณสมบัติดังนี้
12.1.1 มีค่าความสึกหรอ เมื่อทดลองตาม ทล.-ท.202 “วิธีการทดลองหาค่าความสึก
หรอของ Coarse aggregate โดยใช้เครื่อง Los Angeles Abrasion” ไม่เกินร้อยละ 40
12.1.2 มีขนาดคละที่ดี เมื่อทดลองตาม ทล.-ท.205 “วิธีการทดลองหาขนาดของ เม็ด
วัสดุโดยผ่านตะแกรงแบบล้าง” ต้องมีขนาดหนึ่งขนาดใดตามตารางที่ 4.5