Page 85 - Way&Airfield
P. 85
4-40
การก่อสร้างหินคลุกรองใต้ผิวทางคอนกรีตเท่ากับความกว้างของช่องที่ต้องการจะเทคอนกรีต และ
เผื่อไว้สําหรับฐานของแบบอีกข้างละประมาณ 300 มิลลิเมตร
นายช่างผู้ควบคุมงาน จะตรวจสอบคุณภาพหลังการผสมคลุกเคล้าแล้ว
หากพบว่าคุณภาพไม่ถูกต้องตามข้อกําหนดผู้รับจ้างต้องขนวัสดุเหล่านั้นออกไป และนําวัสดุที่มีคุณภาพ
ถูกต้องมาใส่แทน
10.2.3.3 การบํารุงรักษาและการเปิดการจราจร
หลังจากก่อสร้างเสร็จ และคุณภาพผ่านตามข้อกําหนดทุกอย่าง
แล้ว ในกรณีที่ผู้รับจ้างยังไม่สามารถเทคอนกรีตได้ ถ้าต้องการเปิดการจราจรผ่านให้ทําการบํารุงรักษา
ด้วยการพ่นนํ้าบาง ๆ ลงไปลงบนผิวหน้าพื้นทางหินคลุกใต้ผิวทางคอนกรีตที่ก่อสร้างเสร็จแล้ว ให้ชุ่มชื้น
ตลอดเวลาเพื่อป้องกันไม่ให้ฝุ่นฟุ้งกระจายเป็นมลภาวะต่อประชาชนสองข้างทางขณะเปิดการจราจร
10.2.4 การตรวจสอบ
10.2.4.1 การตรวจสอบค่าระดับ
งานหินคลุกรองรับใต้ผิวทางคอนกรีตที่ก่อสร้างเสร็จเรียบร้อย จะต้องมี
รูปร่างราบเรียบตามแบบโดยเมื่อทําการตรวจสอบด้วยบรรทัดตรงยาว 3.00 เมตร ทั้งตามแนวขนาน
และตั้งฉากกับแนวศูนย์กลางทางมีความแตกต่างได้ไม่เกิน 10 มิลลิเมตร การตรวจสอบค่าระดับให้ทําทุก
ระยะ 25 เมตร หรือน้อยกว่าตามที่นายช่างผู้ควบคุมงานเห็นชอบตอนใดที่ผิดไปจากนี้ให้แก้ไข โดยการ
ปาดออกหรือรื้อแล้วก่อสร้างใหม่
10.2.4.2 การทดสอบความแน่นของการบดทับ
งานหินคลุกรองใต้ผิวทางคอนกรีตจะต้องทําการบดทับให้แน่นสมํ่าเสมอ
ตลอดไม่ตํ่ากว่าร้อยละ 95 ของความแน่นแห้งสูงสุดที่ได้จากการทดลอง ตัวอย่างหินคลุกเก็บจากหน้างาน
ในสนาม หลังจากคลุกเคล้าผสมและปูลงบนพื้นถนนแล้ว ตาม ทล.-ท. 108 “วิธีการทดลอง Compaction
Test แบบสูงกว่ามาตรฐาน”
การทดสอบความแน่นของการบดทับ ให้ดําเนินการทดสอบตาม ทล.-ท.
603 “วิธีทดลองการหาค่าความแน่นของวัสดุในสนามโดยใช้ทราย” ทุกระยะประมาณ 100 เมตร ต่อ 1
ช่องทางจราจร หรือประมาณพื้นที่ 500 ตารางเมตร ต่อ 1 หลุมตัวอย่าง
10.2.5 การวัดปริมาณงานและการจ่ายค่างาน
10.2.5.1 วิธีการวัดปริมาณงาน
การวัดปริมาณงานหินคลุกรองใต้ผิวทางคอนกรีต ให้ทําการวัดเมื่อได้ทํา
การตรวจสอบค่าระดับและทดสอบความแน่นของการบดทับถูกต้อง ตามที่กําหนดแล้ว โดยวัดปริมาณ
บดอัดแน่นตามที่ได้ก็สร้างจริงตามแบบปริมาณงานมีหน่วยเป็นลูกบาศก์เมตร
10.2.5.2 วิธีการจ่ายค่างาน