Page 77 - Way&Airfield
P. 77
4-32
9.1.5 มีค่า CBR เมื่อทดลองตาม ทล.-ท.109 “วิธีการทดลองเพื่อหาค่า CBR” ไม่น้อย
กว่าร้อยละ 30 สําหรับความแน่นแห้งของการบดอัดร้อยละ 95 ของความแน่นแห้งสูงสุดที่ได้ จากการ
ทดลองตาม ทล.-ท.108 “วิธีการทดลอง Compaction Test แบบสูงกว่ามาตรฐาน”
ตารางที่ 4.3 ขนาดคละของวัสดุไหล่ทางวัสดุมวลรวม
ขนาดตะแกรง ปริมาณผ่านตะแกรง ร้อยละโดยมวล
มิลลิเมตร (นิ้ว) A B C D
50 (2) 100 100 - -
25.0 (1) - - 100 100
9.5 (3/8) 30-65 40-75 50-85 60-100
2.00 (เบอร์ 10) 15-40 20-45 25-50 40-70
0.425 (เบอร์ 40) 8-20 15-30 15-30 25-45
0.075 (เบอร์ 200) 2-8 5-20 5-15 5-20
9.1.6 กรณีใช้วัสดุมากกว่า 1 ชนิดผสมกัน เพื่อให้ได้คุณภาพถูกต้องวัสดุแต่ละชนิด
จะต้องมีขนาดคละสมํ่าเสมอ และเมื่อผสมกันแล้วจะต้องมีลักษณะสมํ่าเสมอ และได้คุณภาพตาม
ข้อกําหนดให้ทําการผสมกันที่กองวัสดุเท่านั้นทั้งนี้จะต้องได้รับอนุญาตจากนายช่างผู้ควบคุมงานก่อน
9.1.7 กรณีใช้วัสดุจําพวก Shale ต้องมีค่า Durability Index ของวัสดุทั้งชนิดเม็ด
ละเอียดและชนิดเม็ดหยาบ แต่ละชนิดเมื่อทดลอง ตาม ทล.-ท.206 “วิธีการทดลองหาค่า Durability ของ
วัสดุ” ไม่น้อยกว่า 35%
9.2 เครื่องจักรและเครื่องมือ
ก่อนเริ่มงานผู้รับจ้างจะต้องเตรียมเครื่องจักรและเครื่องมือต่าง ๆ ที่จะเป็นจะต้องใช้ในการ
ดําเนินงานทางด้านวัสดุและการก่อสร้างให้ได้พร้อมที่หน้างาน ทั้งนี้ต้องเป็นแบบขนาดและอยู่ในสภาพที่ใช้
อย่างมีประสิทธิภาพตามที่นายช่างผู้ควบคุมเห็นสมควร
9.3 วิธีก่อสร้าง
9.3.1 การเตรียมการก่อนการก่อสร้าง
9.3.1.1 การเตรียมวัสดุ
บริเวณที่เตรียมไว้กองวัสดุ จะต้องได้รับความเห็นชอบจาก นายช่าง
ผู้ควบคุมงานโดยปราศจากสิ่งที่ไม่พึงประสงค์ต่าง ๆ
วัสดุมวลรวมที่จะนํามาใช้เป็นชั้นไหล่ทาง จะต้องผสมคลุกเคล้าให้มี
ลักษณะสมํ่าเสมอกันแล้วกองไว้เป็นกอง ๆ ในปริมาณที่พอสมควรเพื่อทดสอบทดสอบคุณภาพก่อน