Page 25 - WaterSupply
P. 25
3-2
2. การตกตะกอน (ธรรมชาติ)
การตกตะกอน ในที่นี้หมายถึง การปล่อยให้น้้าตกตะกอนเองตามธรรมชาติ ซึ่งบางแห่งก็ตกตะกอนได้
เร็ว บางแห่งก็ตกตะกอนได้ช้า ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับสิ่งที่เจือปนมากับน้้า และสิ่งที่มนุษย์สร้างขึ้นมาช่วย เช่น
2.1 การปล่อยให้น้้าอยู่นิ่ง ๆ และ นาน ๆ สิ่งที่ลอยปะปน (แขวนลอย) อยู่ในน้้าจะตกลงสู่พื้นท้องน้้า
ท้าให้น้้าใสได้
2.2 จากการขุดคูให้น้้าไหลลงสู่อ่างเก็บน้้าขณะที่น้้าไหลจะเกิดแรงเสียดทานกับตลิ่งท้าให้น้้าหมุนวนขึ้น
เป็นการผสมกรดกับด่างที่มีอยู่ในน้้า จะท้าให้น้้าตกตะกอนได้
การตกตะกอนนี้เป็นวิธีที่ช่วยเจ้าหน้าที่ประปาได้บ้างเล็กน้อยเท่านั้น
3. การใช้สื่อตะกอน (เร่งธรรมชาติ) (ดูภาพแผนผังการประปาสนามหน้า 6-5)
การใช้สื่อตะกอน คือ เป็นการกระท้าให้น้้าใสก่อนกรองวิธีหนึ่ง คล้าย ๆ กับ การตกตะกอนแต่
วิธีการใช้สื่อชักตะกอนนี้เป็นวิธีเร่งธรรมชาติ คือ เป็นวิธีที่เพิ่มสื่อชักตะกอนลงไปในน้้าเพื่อให้น้้าใสเร็วขึ้นและ
ท้าให้การกรองมีประสิทธิภาพยิ่งขึ้น
การใช้สื่อชักตะกอนในการประปาสนาม หมายถึง การน้าเอาสารเคมีเพิ่มลงไปในน้้าตามอัตราส่วน เพื่อ
แยกเอาอนุภาคที่ลอยปะปน (แขวนลอย) อยู่ในน้้า ตั้งแต่ขนาดใหญ่จนถึงขนาดเล็ก ออกจากน้้าถ้าเป็นอนุภาค
ขนาดใหญ่จะตกตะกอนง่ายกว่าอนุภาคขนาดเล็ก และความขุ่นที่สร้างปัญหาให้กับการประปาสนามอย่างมาก
มักเกิดขึ้นจากอนุภาคที่มีขนาดเล็กมาก ที่เรียกว่า "อนุภาคคอลลอยด์" (Colloidal particle)
ด้วยเหตุที่กล่าวแล้วข้างต้น จึงต้องมีการกระท้าเพื่อให้อนุภาคที่ลอยปะปน (แขวนลอย)อยู่ในน้้า
รวมตัวกันเป็นก้อนที่เราเรียกว่า "ฟลอค" (Floc) และมีน้้าหนักพอที่จะตกลงก้นถังด้วยขบวนการ "โคแอค
กูเลชั่น" (Coagulation)
3.1 สารเคมีที่ใช้เป็นสื่อชักตะกอนในการประปาสนาม แบ่งออกเป็น 2 จ้าพวก คือ จ้าพวกกรด
และ จ้าพวกด่าง
3.1.1 จ้าพวกกรด ที่มาในรูปของสารส้ม (Alum) ได้แก่
- สารส้มธรรมดา (Aluminum sulfate)
มีคุณลักษณะท้าให้น้้าตกตะกอนเพียงอย่างเดียว
- สารส้มแอมโมเนีย (Alum ammonium)
มีคุณลักษณะท้าให้น้้าตกตะกอนและยังคายแอมโมเนียออกมาหากไปท้า
ปฏิกิริยากับคลอรีนจะเป็นคลอรามีน และเป็นตัวท้าลายเชื้อโรคได้ดีอีกด้วย (รายละเอียดจะกล่าวในเรื่องการ
ท้าลายเชื้อโรคในน้้า)
- สารส้มด้า (Black alum)
มีคุณลักษณะท้าให้น้้าตกตะกอนแล้ว ถ่านไว (Activated carbon) ที่มีอยู่
ในสารส้ม 3 - 5 % จะดูดสีและกลิ่นของน้้าไปด้วย
3.1.2 จ้าพวกกรด ที่มาในรูปของเหล็ก ขณะนี้ที่ใช้ในการประปาสนามมีใช้อยู่ตัวเดียวคือ
- เฟอริคคลอไรด์ (Ferichloride)
3.2 จ้าพวกด่าง ที่ใช้กันในการประปาสนาม ใช้อยู่ 2 ตัว คือ
- ด่างที่มาในรูปของโซดาแอซ (Soda ash)
- ด่างที่มาในรูปของไลม์สโตน (Limestone)
การใช้สื่อชักตะกอนนั้นบางครั้งก็ใช้เพียงสื่อชักตะกอนจ้าพวกกรดเพียงตัวเดียวและจะใช้เมื่อ
ความเป็นด่างในน้้าเดิมมีปริมาณมากพอ แต่บางครั้งก็ต้องใช้ทั้งกรดและด่างรวมกับน้้า จึงจะตก ตะกอนได้ดี